ไม้สักทองเป็นไม้ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก อันเนื่องมาจากเนี้อไม้มีคุณภาพสูง เป็นไม้ที่มีสีสันและลวดลายธรรมชาติที่งดงาม ไม้สักชนิดหนึ่งสี่ของเนี้อไม้จะเป็นสีน้ำตาลทอง และมีลวดลายสีดำ เนื้อไม้ของไม้สักค่อนข้างที่จะละเอียด มีเสี้ยนตรง น้ำหนักเบา ทำให้ง่ายต่อการเลื่อย ไส และตบแต่ง แต่ก็มีความแข็งแรงพอสมควร

ไม้สักสามารถที่จะนำมาใช้งานได้แทบทุกอย่างเท่าที่ไม้เนื้อแข็งชนิดอื่น ๆ จะทำได้ เช่น นำมาใช้ในงานก่อสร้าง และโครงสร้างของที่อยุ่อาศัย ใช้ทำดาดฟ้าเรือ ใช้ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ และใช้ในการแกะสลักได้อย่างยอดเยี่อม ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ไม้สักยังมีความต้านต่อปลวก เชื้อรา เห็ดต่าง ๆ ทนต่อกรด ไม่ทำให้เหล็กเป็ฯสนิม ตลอดทั้งทนทานต่อลมฟ้าอากาศที่จะทำลายเนื้อไม้ ดังจะเห็นได้จากสภาพของโบสถ์ วิหารที่มีอายุหลายร้อยปีที่สร้างขึ้นด้วยไม้สักในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือของไทย

ไม้สักในประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดในโลกและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างมาก ในสมัยก่อนไม้สักค่อนข้างจะหาง่ายและราคาไม่แพง ประชาชนสามารถสร้างบ้านทั้งหลังโดยใช้ไม้สักล้วน ๆ ได้ แต่ในปัจจุบันไม้สักในป่าธรรมชาติกำลังจะหมดไป เพราะความต้องการใช้สูง รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลุกไม้สักเพื่อใช้เองหรือเพื่อการค้าได้ และเนื่องจากความต้องการใช้ไม้มีมาก และนับวันจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงไม่ต้องห่วงเรื่องราคาและการตลาดสำหรับไม้ชนิดนี้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นไม้ขนาดเล็กที่ได้จากการตัดสางขยายระยะ หรือไม้ซุง เมื่อมีการตัดมาใช้ประโยชน์ครั้งสุดท้ายก็ตาม

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

งายวิจัย:การพัฒนาการวิจัยแมลงศัตรูตันสักในประเทศไทย

โดย นางสาวฉวีวรรณ หุตะเจริญ เผยแพร่ การสัมมนา 50 ปี สวนสักห้วยทากเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มหาราชินี 5-8 สิงหาคมจังหวัดลำปาง

การศักษาแมลงศัตรูต้นสักของประเทศไทย ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2501 โดยเริ่มจากมอดป่าเจาะต้นสัก แต่เป็นเพียงการสำรวจ และสังเกตการณ์ทางชีววิทยาโดยทั้วไป ต่อมาได้มีการศึกษาหนอนผีเสื้อกินใบสัก ซึ่งมีการทำลายใบสักให้เกิดความเสียหายในพื้นที่กว้างขวางจนต้องมีการตั้งศูนย์ปรามศัตรูป่าไม้ขึ้น เพื่อทำการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูต้นสักเป็นวัตถุประสงค์หลัก และการป้องกันกำจัดได้ทำกันอย่างกว้างขวางโดยใช้เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis

กรศึกษาวิจัยได้ครอบคลุมไปถึงแมลงศัตรูดอกและเมล็ดไม้สัก แมลงศัตรูของไม้สักอื่น ๆ ยังคงเป็นการสำรวจและสังเกตการณ์อยู่ เนื่องจากขาดนักวิชาการที่จะมาปฏิบัติงานวิจัย ในปี พ.ศ.2531 ได้มีการรวบรวมแมลงศัตรูต้นสักที่พบในประเทศไทย พบว่ามีทั้งสิ้น 56 ชนิด และในปีเดียวกันนั้น ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น จึงได้มีการศึกษามอดป่าเจาะต้นสักอย่างจริงจัง โดยได้มีการศักษาสารฮอร์โมนทางเพศ การเลี้ยงหนอนด้วยอาหารเทียม ศึกษาพลวัตรของประชากรและพฤติกรรมอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การป้องกันกำจัด และในปัจจบันยังได้ดำเนินการศึกษาแมลงศัตรูธรรมชาติของหนอนกินใบสักด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ที่มาของข้อมูล

หนังสือคู่มือการเกษตร
การปลูกและดูแลรักษาสวนป่า ไม้สักทอง ไม้เศรษฐกิจของชาติ
เรียบเรียงโดย ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์

บริการถ่ายภาพด้วยมืออาชีพ

...คลิกที่รูป....บริการถ่่ายภาพสุดประทับใจ¨ prewedding รับประริญญา พิธีการต่่าง ๆ แฟชั่นอีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com