ไม้สักทองเป็นไม้ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก อันเนื่องมาจากเนี้อไม้มีคุณภาพสูง เป็นไม้ที่มีสีสันและลวดลายธรรมชาติที่งดงาม ไม้สักชนิดหนึ่งสี่ของเนี้อไม้จะเป็นสีน้ำตาลทอง และมีลวดลายสีดำ เนื้อไม้ของไม้สักค่อนข้างที่จะละเอียด มีเสี้ยนตรง น้ำหนักเบา ทำให้ง่ายต่อการเลื่อย ไส และตบแต่ง แต่ก็มีความแข็งแรงพอสมควร

ไม้สักสามารถที่จะนำมาใช้งานได้แทบทุกอย่างเท่าที่ไม้เนื้อแข็งชนิดอื่น ๆ จะทำได้ เช่น นำมาใช้ในงานก่อสร้าง และโครงสร้างของที่อยุ่อาศัย ใช้ทำดาดฟ้าเรือ ใช้ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ และใช้ในการแกะสลักได้อย่างยอดเยี่อม ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ไม้สักยังมีความต้านต่อปลวก เชื้อรา เห็ดต่าง ๆ ทนต่อกรด ไม่ทำให้เหล็กเป็ฯสนิม ตลอดทั้งทนทานต่อลมฟ้าอากาศที่จะทำลายเนื้อไม้ ดังจะเห็นได้จากสภาพของโบสถ์ วิหารที่มีอายุหลายร้อยปีที่สร้างขึ้นด้วยไม้สักในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือของไทย

ไม้สักในประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดในโลกและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างมาก ในสมัยก่อนไม้สักค่อนข้างจะหาง่ายและราคาไม่แพง ประชาชนสามารถสร้างบ้านทั้งหลังโดยใช้ไม้สักล้วน ๆ ได้ แต่ในปัจจุบันไม้สักในป่าธรรมชาติกำลังจะหมดไป เพราะความต้องการใช้สูง รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลุกไม้สักเพื่อใช้เองหรือเพื่อการค้าได้ และเนื่องจากความต้องการใช้ไม้มีมาก และนับวันจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงไม่ต้องห่วงเรื่องราคาและการตลาดสำหรับไม้ชนิดนี้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นไม้ขนาดเล็กที่ได้จากการตัดสางขยายระยะ หรือไม้ซุง เมื่อมีการตัดมาใช้ประโยชน์ครั้งสุดท้ายก็ตาม

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

งานวิจัย:การศึกษาระดับความชื้นของดินต่อการเจริญเติบโตของกล้าสัก

โดย นายวีระพงษ์ สวงโท และนายวิเศษศักดิ์ ทองประดิษฐ์ รายงานวนวัฒนวิจัย ประจำปี พ.ศ.2542 ส่วนวนวัฒนวิจัย สำนักวิชาการป่าไม้ หน้า 15-26

การศึกษาเกี่ยวกับความชื้้นของดินต่อการเจริญเติบโตของกล้าสัก ได้ดำเนินการที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ไม้ป่าภาคเหนือ จำหวัดลำปาง ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ค.2541 ถึง กันยายน พ.ศ.2542 โดยการจัดสร้างแปลงปักชำกล้าไม้ในเรือนพลาสติก และควบคุมความชื้นของดินโดยวิธี capillary force ได้ทำการศึกษาระดับความชื้น 5 ระดับ (Treatments) ซึ่งคำนวณเป็นเปอร์เซนต์ความชื้นได้เท่ากับ 22.3, 19.4, 14.5, 12.5, และ9.0 เปอร์เซนต์ ของน้ำหนักแห้ง ตามความสูงของผิวบนแปลงปักชำจากระดับน้ำที่หล่อเลี้ยงอยูข้างล่าง

ผลจาการทดลองปรากฏว่า อัตราการแตกหน่อของเหง้าสักใน Treatment ต่าง ๆ เท่ากับ 78, 49, 25, 9 และ 0 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการเจริญเติบโตของกล้าสัก 5 เดือน หลังจากการปักชำเหง้า ปรากฏว่าที่ระดับความชื้นของดิน 14.5% ให้ผลดีที่สุด และแตกต่างจาก treatment อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการทดลองได้อภิปรายในรายละเอียด และให้ข้อเสนอแนะในการเลือกพื้นที่สำหรับปลูกไม้สักให้ประสบผลสำเร็จต่อไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ที่มาของข้อมูล

หนังสือคู่มือการเกษตร
การปลูกและดูแลรักษาสวนป่า ไม้สักทอง ไม้เศรษฐกิจของชาติ
เรียบเรียงโดย ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์

บริการถ่ายภาพด้วยมืออาชีพ

...คลิกที่รูป....บริการถ่่ายภาพสุดประทับใจ¨ prewedding รับประริญญา พิธีการต่่าง ๆ แฟชั่นอีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com