ตัวหนอนของด้วงหนวดยาว ชนิด Acalolepta cervinus (Hope) ได้สร้างปัญหาโดยสร้างปมที่ลำต้นและมีผลทำให้ตันสักหักโค่น จึงได้มีการศึกษาชีวประวัติ ความเสียหาย และลักษณะของปมที่เกิดในต้นสัก ที่ศูนย์วิจัยและควบคุมศัตรูพืช ป่าไม้ที่ 3 อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี พบว่า ตัวเต็มวัยออกจากดักแด้ในต้นสักในระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม ผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลาต่อมา ระยะไข่ไช้เวลา 10-14 วัน ตัวอ่อนอาศัยกินเนื้อเยื่อที่มีชีวิตในต้นสักและกระตุ้นให้ต้นสักสร้างปมโตขึ้นและชอนไชกินอยู่ใต้เปลีอกรอบปมนี้ การทำลายของตัวหนอนไม่ทำให้สักตาย แต่การกัดกินของตัวหนอนที่รุนแรงทำให้ต้นสักหักโค่น ณ จุดที่เป็นปมนั้น
การหักโค่นไนพื้นที่พบสูงถึง 50% การหักโค่นทำให้เกิดการแตกยอดด้านข้าง ปมเก่ามักจะถูกปลวกกันกินจนพรุนและเป็นแหล่งอาศัยของมด การเกิดปมในสักอายุ 1-2 ปี มีผลทำให้การเจริญเติบโตลดลง แต่ไม่มีผลในสักที่มีอายุมากขึ้น และสักอายุเกินกว่า 4 ปี มีเปลือกแข็งจะพบการทำลายน้อยลง ต้นสักหนื่ง ๆ มักจะพบ 1-2 ปมโดยเฉลี่ย และความสูงของปมที่พบมักอยู่ช่วงระดับผิวดิน ถึง 90 เซนติเมตร โดยทั่วไปจะไม่พบเกินกว่าระดับ 2.5 เมตร
ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ด้วงมาวางไข่โดยการพ่นสารกำจัดแมลง จึงแนะนำพ่นสารกำจัดแมลงที่ลำต้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 1.5 เมตร ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม การพ่นสารที่ลำต้นไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษ การป้องกันมิให้ปลวกเข้าทำลายในปมเก่าจะสามารถรักษาเนี้อไม้ไว้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น