ลักษณะในการพิจารณาคัดเลือกแม่ไม้สักทอง
การคัดเลือกแม่ไม้สักทองมีหลักในการพิจารณาอยู่หลายประการ ทั้งการพิจารณาจากลักษณะภายนอกและลักษณะภายใน ลักษณะภายนอกสามารถพิจารณาได้ทันที ตามหลักวิชาการใช้วิธีประเมินค่าลักษณะต่าง ๆ ของต้นไม้โดยการให้คะแนน ส่วนลักษณะภายในพิจารณาได้ยากเพราะจะต้องมีการโค่นต้นไม้หรือเลื่อยแปรรูปเสียก่อนจึงจะพิจารณาได้ ซึ่งหมายความว่าจะต้องเสียแม่ไม้ที่ให้เมล็ดไป แต่ถ้าเป็นการตัดกิ่งปักชำ หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เมื่อโค่นแม่ไม้แล้วสามารถใช่หน่อจากต้นตอได้ลักษณะในการพิจารณาคัดเลือกแม่ไม้สักทอง
การคัดเลือกแม่ไม้สักทองในประเทศไทย มีลักษณะในการพิจารณากว้าง ๆ ดังนี้
1.อายุของต้นไม้
ไม้สักทองที่สามารถนำมาทำเป็นแม่ไม้ได้นั้น ควรมีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี ทั้งนี้ เพระาไม้สักทองที่ปลูกจะนำไปใช้ประโยชน์เมื่อมีอายุ ประมาณ 15 ปี ไม่ควรเลือกไม้สักทองที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี เป็นแม่ไม้ถึงแม้ว่าจะมีขนาดโตตามที่กำหนดไว้ก็ตามเพราะกล้าไม้ที่ได้จากแม่ไม้ที่มีอายุน้อยจะไม่แข็งแรงเท่าที่ควร
2. ลักษณะของลำต้น
ลักษณะภายนอกที่สำคัญประการแรกในการคัดเลือกไม้สักทองเพื่อใช้ทำแม่ไม้ ควรคัดเลือกที่มีลักษณะของลำต้นเปล่าตรง ไม่บิด คดงอ และกิ่งก้านไม่มาก ทั้งนี้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการปลูกไม้สักทอง ก็เพื่อใช้ประโยชน์จากลำต้น ไม้สักทองที่มีลำต้นเปล่าตรงจะขายได้ราคาแพงกว่าไม้สักทองที่ลำต้นคดงอ
3.ขนาดของลำต้น
ลักษณะภายนอกที่ควรพิจารณาอันดับต่อไป ก็คือ ขนาดของลำต้น ควรคัดเลือกต้นที่มีขนาดใหญ่กว่าต้นอื่น ๆ ในชั้นอายุเดียวกัน ซึ่งควรมีความโตทางเส้นรอบวงเฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 7 เซนติเมตร การคัดเลือกแม่ไม้สักทองโดยพิจารณาความโตเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากต้นไม้ขนาดใหญ่ย่อมให้ปริมาตรเนื้อไม้ที่สูงกว่า และไม้สักทองที่มีการเจริญเติบโตดี จะสามารถถ่ายทอดลักษณะการเจริญเติบโตที่สูมบูรณ์แข็งแรงไปยังรุ่นต่อ ๆ ไปด้วย
4.เรือนยอด
รูปทรงเรือนยอดต้องเป็นพุ่ม ได้สัดส่วนกับความสูง รัศมีความกว้างของทรงพุ่มรอบเรือนยอดเท่ากัน น้ำหนักเรือนยอดไม่ถ่วงไปด้านใด้านหนึ่งมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ต้นไม้โค่นล้มได้ง่ายเมื่อเกิดลมพัดแรง
5.ลักษณะและคุณภาพของเนื้อไม้
วัตถุประสงค์ในการปลูกไม้สักทองนั้น นอกจากต้องการต้นไม้ที่รูปทรงดีและโตเร็วแล้วยังมีความต้องการเนื้อไม้สักทองที่มีลวดลายสวยงามด้วย ดังนั้น ต้นสักที่มีลวดลายสวยงามจึงเป็นที่ต้องการและควรคัดเลือกไว้เป็นแม่ไม้
6.ความต้านทานโรคและแมลง
ปัจจุบันสวนสักทองของทางราชการและเอกชนที่ปลูกไว้ มักจะประสบปัญหาเรื่องโรคและแมลงรบกวนเป็นจำนวนมาก จนเกิดความเสียหายบริเวณ ลำต้น ใบ กิ่งก้าน เปลือก หรือส่วนอื่น ๆ ดังนั้น การคัดเลือกแม่ไม้ไว้ทำพันธุ์ ต้องไม่ปรากฎว่ามีร่องรอยของโรคและแมลงรบกวนตามส่วนต่าง ๆ ของลำต้นดังกล่าวแล้ว
7.ความสามารถในการแตกหน่อ
ความสามารถในการแตกหน่อของไม้สักทอง จะทราบได้ก็ต่อเมื่อมีการโค่นต้นไม้เสียก่อน แต่ก็เป็นผลดีในการปรับปรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์โดยวิธีแตกหน่อ ในรุ่นต่อไปและการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แม่ไม้สักทองควรจะต้องมีการแตกหน่อที่ดีและให้หน่อที่สมบูรณ์ด้วย
8.ความสามารถในการแตกรากของกิ่งปักชำ
ลักษณะในข้อนี้ มีความจำเป็นสำหรับการเตรียมกล้าไม้สักทองแบบเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อ ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับการพัฒนาเพื่อการปลูกสร้างสวนสักทองที่มีประสิทธิภาพในอนาคตการทดสอบความสามารถของแม่ไม้ในข้อนี้จำเป็นต้องมีทดลองเก็บข้อมูลไว้สำหรับการปรับปรุงพันธุ์
9.ความสามารถในการถ่ายทอดและดำรงพันธุ์
แม่พันธุ์ที่ดีต้องให้ลูกไม้ที่มีลักษณะเด่นเหมือนแม่พันธุ์นั้น กล้าไม้รุ่นต่อ ๆ ไปต้องไม่กลายพันธุ์ง่าย สามารถถ่ายทอดลักษณะที่ดีได้ตลอดไป ลักษณะเช่นนี้จะทราบได้ต้องใช้เวลาในการศึกษาทดลองไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะตัดสินใจได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น