ศ.ดร.สะอาด บุญเกิด นักวิชากรด้านวนศาสตร์ได้เขียนบอกเล่าจากประสบการณ์ว่า ไม้สักทองจะเกิดขึ้นอยู่กับแหล่งพื้นที่ปลูก สถานที่ ดินฟ้าอากาศ และสายพันธุ์เป็นสำคัญ สำหรับการแบ่งประเภทของเนื้อไม้สัก โดยทั้วไปจะพิจารณาจากลักษณะของสีผิว การตกแต่ง ความแข็ง และความเหนียว เข้ามาประกอบ พวกลักลอบตัดโค่นไม้ มักจะเชี่ยวชาญในการแยกลักษณะของไม้สักเป็นพิเศษ โดยสังเกตจากต้น เรือนยอด สุขภาพของต้น และการแตกของเปลือก
สักทอง เนื้อไม้จะมีสีเหลืองทอง ส่วนใหญ่พบในป่าโปร่งชื้้น ดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ การแตกของเปลือกเช่นเดียวกับสักหยวก อยู่ในที่ที่แห้งชื้น เรือนยอดสมบูรณ์ ใบมีขนาดกลาง เนื้อไม้จะเป็นเส้นตรง ผ่าง่าย มีความแข็งแรกกว่าสักหยวก สีเข้ม เป็นสีน้ำตาลเหลือง หรือที่เรียกกันว่าสีทอง ในบรรดาไม้สักทั้ง 5 ชนิด ไม้สักทองได้รับฉายาว่าเป็น "ราชินีแห่งไม้" หรือ "Queen of Timbers" เป็นไม้ที่มีคุณภาพดีที่สุดของโลกที่ธรรมชาติมอบให้แก่คนไทยและประเทศไทย
สักหยวก เนื้อไม้จะมีสีขาว พบในป่าโปร่งชื้้น และริมห้วย ต้นตรง เปลือกแตกเป็นร่องตื้นแต่ยากตรง เรือนยอดสมบูรณ์ ใบมีขนาดกลาง เนื้อไม้หรือแก่น ถากหรือฟันได้ง่าย ไม้สักหยวก และไม้สักทองจะอยุ่ในทำเลที่คล้ายกัน และมีลักษณะภายนอกคล้ายกัน แต่ก็สามารถสังเกตได้อีกเล็กน้อยก็คือ ร่องของเปลีอกไม้สักหยวกจะกว้างกว่าไม้สักทอง แต่แตกเป็นร่องตรงเหมือน ๆ กัน
สักไข เนื้อไม้จะมีสีอ่อนและลักษณะเป็นมัน พบในป่าโปร่งแล้งเป็นส่วนมาก เจริญเติบโตช้า ร่องของเปลือกลึกและตัวเปลือกเป็นสันกว้างระหว่างร่อง ลำต้นตรงเปลา แต่มีลักษณะแกร็น ๆ พุ่มของเรือนยอดบอบบาง แต่ก็มีใบเต็ม จะทราบได้ว่าเป้นสักไขก็ต่อเมื่อถึงมือช่างไม้ เพราะเนื้อไม้จะมีไขปน ยากแก่การขัด และทาแล็กเกอร์ สีของไม้สักไขจะมีสีน้ำตาลเข้มปนเหลือง
สักหิน พบในป่าโปร่งแล้งในระดับสูง การแตกของเปลือกเป็นร่องลึกและเรือนยอดดูไม่ค่อยแข็งแรง ใบเล็กกว่าปกติ จพทราบได้แน่นอนเมื่อมีการโค่นล้ม หรือตบแต่งโดยพวกโค่นล้มเลื่อย และช่างไม้ เพราะเนื้อไม้จะแข็งกว่าไม้สักทั่วไปและเปราะ สีของเนื้อไม้จะมีสีน้ำตาลเข้ม
สักขี้ควาย เนื้อไม้จะออกสีคล้ำ ไม้สักพวกนี้จะเกิดอยู่ในที่ค่อนข้างแล้งในป่าผสมผลัดใบต่าง ๆ และมักจะพบอยู่ในบริเวณรอยต่อ (Transition zone) ของป่าโปร่งผลัดใบต่าง ๆ และป่าแพะลักษณะของเรือนยอดมักจะไม่สมบูรณ์ ลำต้นจะตายบ้าง กิ่งหรือเรือนยอดแห้งตายไปบ้างกิ่งสองกิ่งลักษณะของเปลือกแตกเป็นร่องไม่สม่ำเสมอ ขาดเป็นตอน ๆ และมีร่องลึก ลักษณะไม่สมบูรณ์ จะทราบแน่ว่าเป็นสักขี้ควายก็ต่อเมื่อโค่นลงมาเลื่อยดู ก็จะเห็นได้ชัดว่า เนื้อไม้จะมีสีเขียวปนน้ำตาลแก่ หรือ น้ำตาลอ่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น