เคาะเยียโอ-ละว้า,เชียงใหม่
ปายี้-กะเหรี่ยง,กาญจนบุรี
บีอี ปีฮีอ เป้อยี-กะเหรียง,แม่ฮ่องสอน
สัก-ทั่วไป
เส่บายี้-กะเหรียง,กำแพงเพชร
ไม้สักทอง ได้ถูกยกย่องว่าเป็นไม้มงคล เพราะคำว่า "สัก"หรือ "สักกะ" หมายถึง พระอินทร์ผู้มีอำนาจยิ่งใหญ่ที่สุดในสรวงสวรรค์ ขณะเดียวกันคำว่า "สัก" พ้องเสียงกับคำว่า "ศักดิ์" หมายถึง ยศถาบรรดาศักดิ์หรือศักดิ์ศรี ในทางศาสนาพราหมณ์เชื่อว่า ไม้สักทอง หมายถึง การมีสิ่งศักดิ์สิทธ์คุ้มครองให้มั่นคงตลอดไป ดังนั้นจึงนิยมนำไม้สักทองปักก้นหลุมเสาเอก ในพิธีวางศิลาฤกษ์ โบสถ์วิหาร สถานที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งบ้านที่พักอาศัย เพราะมีความเชื่อว่า ถ้ามีไม้สักหรือตันสักในบ้านจะช่วยเพิ่มสง่าราศี และส่งผลให้ได้เลื่อนตำแหน่ง เป็นที่เคารพยกย่องของบุคคลอื่น
ต้นสัก ถือเป็นพันธุ์ไม้สัญลักษณะประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เนื่่องจากได้คนพบต้นสักใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อปี พ.ศ.2470 ที่วนอุทยานตันสักใหญ่ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ต้นสักดังกล่าวมีความสูงประมาณ 47 เมตร แต่ปัจจุบัจเหลือประมาณ 37 เมตร เนื่องจากเรื่อนยอดถูกลมพัดหักเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2520 วัดขนาดความโตโดยรอบต้นที่ระดับสูง 130 เซนติเมตร จากพื้นดิน 1,003 เซนติเมตร อายุประมาณ 1,500 ปี
ไม้สัก เป็นตันไม้ขนาดใหญ่ มักขึ้นเป็นหมู่ไม้สักล้วน ๆ พบเห็นได้ตามป่าเบญจพรรณ หรือป่าผสมผลัดใบ (Mixed deciduous forest) ซึ่งมีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ประกอบด้วยตั้นไม่ขนาดใหญ่ ปละขนาดกลางหลายชนิด พื้นดินมักเป็นดินร่วนปนทราย ในฤดูแล้งต้นไม้ส่วนมากจะผลัดใบ และมักจะเกิดไฟป่าไหม่ลุกลามแทบทุกปี เมื่อเข้าฤดูฝนต้นไม้จึงผลิใบและกลับเขียวชอุ่มเหมือนเดิม ป่าเบญจพรรณนี้จะมีครอบคลุมอาณาเขต ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตก เช่น แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และพิจิตร และพบบ้างเล็กน้อยในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี
ป่าแม่ยมเป็นป่าเบญจพรรณที่มีชื่อเสียงและมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด ไม้เด่นที่เป็นสัญลักษณ์ของป่าแห่งนี้คือ ไม้สักทอง ความสวยงามของไม้สักทองอยู่ที่มีวงปีที่ชัด สีไม้จะออกสีเหลือง ซึ่งพบว่าเนื้อไม้สักทองมีทองคำบริสุทธ์ปะปนอยุ่ถึง 0.5 ppm คิดคร่าว ๆ ก็คือ หากนำไม้สักทอง 26 ต้น มาสกัดเนื้อทองจะได้ทองคำหนัก 1 บาทที่เดียว ดังนั้นไม้สักทองจึงเป็นที่หมายปองของหลาย ๆ คน ปัจจุบันพบว่าไม้สักทองที่มีอยู่ในโลกมีอยู่ 3 ประเทศเท่านั้น ได้แก่ พม่า อินเดีย และประเทศไทย อนาคตของไม้สักทองในป่าแม่ยมดูจะไม่มั่นคงนัก เพราะไม่รุ้ว่ารัฐบาลจะตัดสินใจให้มีการตัดป่าเพื่อก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นเมื่อใด
อัตราการเจริญเติมโตของไม้สัก ขึ้นอยู่กับความลึก การระบายน้ำ ความชื้้้น และความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลัก สภาพที่เหมาะสำหรับปลูกไม้สัก คือดินแบบตะกอนทับถมที่มีผิวหน้าดินลึกและระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกลางและด่างเล็กน้อย ค่าpH ระหว่าง 6.5-7.5 ปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,200-2,000 มม./ปี ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 700 เมตร และหากปลูกในพื้นที่ที่มีฤดูแล้วแยกจากฤดูฝนอย่างชัดเจนจะทำให้เนื้อไม้สักมีลวดลายสวยงาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น