งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความแตกต่างทางพันธุ์จากต่างแหล่งในการเจริญเติบโตและลักษณะภายนอกบางประการ นอกจากนี้ยังศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับน้ำต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้สัก รวมทั้งการศึกษาความสนใจใจการทำฟาร์มไม้สัก งานวิจัยนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและการพัฒนาของไม้สัก เพื่อการใช้ประโยชน์ในอนาคต ในการศึกษาการเจริญเติบโตของไม้สักอายุ 15 ปี ในClone Band ของบริษัท ไม้อัดไทย จำกัด
ในสภาพฟาร์มไม้สักที่มีการจัดการดี ความแตกต่างทางพันธุ์ในลักษณะการเจริญเติบโตมีน้อย หลังจากการให้น้ำหยดติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 ปี ความแตกต่างในความสูงและความโตของไม้สัก อายุ 32 เดือน มีความแตกต่างระหว่าง block ในการศึกษาการให้น้ำกล้าไม้สัก พบว่ากล้าไม้สักจากเหง้าสักทนต่อสภาพแห้งแล้งกว่ากล้าไม้สักที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การศึกษาพบว่าพื้นที่ผิวใบของกล้าไม้สักที่มีการให้น้ำแตกต่างกัน จะเพิ่มขึ้นในทิศมางเดียวกันในสัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่ 2 ส่วนการให้น้ำเพียงครั้งเดียวในช่วงปลูก พื้นที่ผิวใบจะลดลงมากในสัปดาห์ที่สาม และจะตายหมดในสัปดาห์ที่ 4
ในการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปลูกป่าเสริมธรรมชาติ ทั้งสองกลุ่มไม่เห็นด้วยกับการปิดป่าสัมปทาน ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ป่าไม้และเจ้าของฟาร์มมีพื้นที่ส่วนป่าสักน้อยกว่า 100 ไร่ ปลูกสักโดยใช้เหง้าด้วยระยะห่าง 2x4 เมตร ไฟป่า แมลง และโรค เป็นปัญหาสำคัญในฟาร์มป่าไม้สัก ไม้สักที่ปลูกจะจำหน่ายแก่ตลาดใกล้เคียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น