ไม้สักทองเป็นไม้ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก อันเนื่องมาจากเนี้อไม้มีคุณภาพสูง เป็นไม้ที่มีสีสันและลวดลายธรรมชาติที่งดงาม ไม้สักชนิดหนึ่งสี่ของเนี้อไม้จะเป็นสีน้ำตาลทอง และมีลวดลายสีดำ เนื้อไม้ของไม้สักค่อนข้างที่จะละเอียด มีเสี้ยนตรง น้ำหนักเบา ทำให้ง่ายต่อการเลื่อย ไส และตบแต่ง แต่ก็มีความแข็งแรงพอสมควร

ไม้สักสามารถที่จะนำมาใช้งานได้แทบทุกอย่างเท่าที่ไม้เนื้อแข็งชนิดอื่น ๆ จะทำได้ เช่น นำมาใช้ในงานก่อสร้าง และโครงสร้างของที่อยุ่อาศัย ใช้ทำดาดฟ้าเรือ ใช้ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ และใช้ในการแกะสลักได้อย่างยอดเยี่อม ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ไม้สักยังมีความต้านต่อปลวก เชื้อรา เห็ดต่าง ๆ ทนต่อกรด ไม่ทำให้เหล็กเป็ฯสนิม ตลอดทั้งทนทานต่อลมฟ้าอากาศที่จะทำลายเนื้อไม้ ดังจะเห็นได้จากสภาพของโบสถ์ วิหารที่มีอายุหลายร้อยปีที่สร้างขึ้นด้วยไม้สักในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือของไทย

ไม้สักในประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดในโลกและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างมาก ในสมัยก่อนไม้สักค่อนข้างจะหาง่ายและราคาไม่แพง ประชาชนสามารถสร้างบ้านทั้งหลังโดยใช้ไม้สักล้วน ๆ ได้ แต่ในปัจจุบันไม้สักในป่าธรรมชาติกำลังจะหมดไป เพราะความต้องการใช้สูง รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลุกไม้สักเพื่อใช้เองหรือเพื่อการค้าได้ และเนื่องจากความต้องการใช้ไม้มีมาก และนับวันจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงไม่ต้องห่วงเรื่องราคาและการตลาดสำหรับไม้ชนิดนี้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นไม้ขนาดเล็กที่ได้จากการตัดสางขยายระยะ หรือไม้ซุง เมื่อมีการตัดมาใช้ประโยชน์ครั้งสุดท้ายก็ตาม

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การรื้อไม้สักเก่า ไปปลูกในที่ใหม่

มีกฎกติกาตามระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการนำไม้สักที่เคยอยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยอยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้มาแล้วกว่า 5 ปี ประสงค์จะเคลื่อนย้ายออกนอกเขตจังหวัด พ.ศ. 2542 มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้

1. ผู้ใดประสงค์จะนำไม้สักที่เคยอยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยอยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้มาแล้วกว่า 5 ปี เคลื่อนย้ายออกนอกเขตจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสิ่้งปลูกสร้างหรือเป็นที่ประกอบเครื่องใช้นั้น ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
1.1 สำหรับท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานป้องกันและปราบปราม กรมป่าไม้
1.2 สำหรับท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่ซึ่งเป็นที่ตั้งปลูกสร้างหรือเป็นที่ประกอบเครื่องใช้นั้น

2. ไม้สักที่จะอนุญาตให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตจังหวัดได้ตามระเบียบนี้ จะต้องมีลักษณะและสถานภาพดังต่อไปนี้
2.1 ต้องเป็นไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้มาแล้วกว่า 5 ปี ซึ่งในขณะที่ยื่นขอต้องยังไม่ได้ทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือเครื่องใช้ก่อนได้รับอนุญาตตามระเบียบ
2.2 ต้องมิใช่ไม้ที่อยู่ในสภาพพรางว่าเป็นสิ่งที่ปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างอันไม่ชอบด้วยลักษณะสิ่งปลูกสร้างทั่ว ๆ ไปหรือที่ผิดปกติวิสัย หรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ที่ไม่ชอบด้วยลักษณะของเครื่องใช้ที่เป็นปกติในท้องที่นั้น หรือผิดปกติวิสัย
2.3 ต้องเป็นไม้ที่พ้นสภาพการเป็นไม้แปรรูป ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 4
2.4 ในกรณีเป็นสิ่งปลูกสร้างจะต้องปลูกสร้างในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองหรือสิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย

3. หลักฐานที่ใช้ประกอบคำขอ
3.1 สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอรื้อถอน
3.2 แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งสิ่งปลูกสร้างที่ขออนุญาตรื้อถอน
3.3 หนังสือรับรองว่าได้ปลูกในท้องที่นั้นมานานแล้วกว่า 5 ปี จากสภาตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งท้องที่ แล้วแต่กรณี
3.4 หลักฐานการได้มาของไม้นั้น (ถ้ามี)
3.5 รูปถ่ายสิ่งปลูกสร้างหรือเครื่องใช้ที่ขอรื้อถอนทุกด้าน
3.6 หลักฐานแสดงการมีสิทธิ์ใช้ที่ดินจะนำไม้สักไปใช้ประโยชน์ พร้อมแผนที่สังเขปแสดงที่ถูกต้องของที่ดินนั้น
3.7 อื่น ๆ

4. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอและเห็นว่าถูกต้อง จะดำเนินการ ดังนี้
4.1 สำหรับท้องที่กรุงเทพมหานครจะเสนอคำขอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการในทำนองเดียวกัน
4.2 สำหรับท้องที่จังหวัดอื่นจะเสนอคำขอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการในทำนองเดียวกัน

5. เมื่อคณะกรรมการได้ตรวจสอบหลักฐานเอกสาร และลักษณะสิ่งปลูกสร้างหรือเครื่องใช้ที่ขอรื้อถอนแล้ว มีความเห็นสมควรให้ผู้ขอทำการเคลื่อนย้ายสิ่งปลูกสร้างหรือเครื่องใช้ได้ อธิบดีกรมป่าไม้หรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณี จึงจะสั่งให้ทำการรื้อถอน แล้วแจ้งให้ผู้ขอทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือเครื่องใช้นั้นได้

6. เมื่อคณะกรรมการได้รับแจ้งจากผู้ขอว่าได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือเครื่องใช้แล้วจะทำการตรวจไม้ที่รื้อถอนนั้น แล้วจัดทำบัญชีรายการแสดงชนิด จำนวน ปริมาตร พร้อมประทับตราประจำตัวไว้ที่ไม้ แล้วจะดำเนินการเสนออธิบดีกรมป่าไม้หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี เพื่อออกใบอนุญาตให้เคลื่อนย้ายต่อไป

7. เมื่อผู้รับอนุญาตได้นำไปถึงสถานที่ที่กำหนดในใบอนุญาต ผู้รับอนุญาตต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี สำหรับในท้องที่กรุงเทพมหานครให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปราม กรมป่าไม้

8. สำหรับอัตราค่าธรรมเนียมตามระเบียบมิได้กำหนดไว้แต่อย่างใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ที่มาของข้อมูล

หนังสือคู่มือการเกษตร
การปลูกและดูแลรักษาสวนป่า ไม้สักทอง ไม้เศรษฐกิจของชาติ
เรียบเรียงโดย ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์

บริการถ่ายภาพด้วยมืออาชีพ

...คลิกที่รูป....บริการถ่่ายภาพสุดประทับใจ¨ prewedding รับประริญญา พิธีการต่่าง ๆ แฟชั่นอีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com