ไม้สักทองเป็นไม้ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก อันเนื่องมาจากเนี้อไม้มีคุณภาพสูง เป็นไม้ที่มีสีสันและลวดลายธรรมชาติที่งดงาม ไม้สักชนิดหนึ่งสี่ของเนี้อไม้จะเป็นสีน้ำตาลทอง และมีลวดลายสีดำ เนื้อไม้ของไม้สักค่อนข้างที่จะละเอียด มีเสี้ยนตรง น้ำหนักเบา ทำให้ง่ายต่อการเลื่อย ไส และตบแต่ง แต่ก็มีความแข็งแรงพอสมควร

ไม้สักสามารถที่จะนำมาใช้งานได้แทบทุกอย่างเท่าที่ไม้เนื้อแข็งชนิดอื่น ๆ จะทำได้ เช่น นำมาใช้ในงานก่อสร้าง และโครงสร้างของที่อยุ่อาศัย ใช้ทำดาดฟ้าเรือ ใช้ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ และใช้ในการแกะสลักได้อย่างยอดเยี่อม ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ไม้สักยังมีความต้านต่อปลวก เชื้อรา เห็ดต่าง ๆ ทนต่อกรด ไม่ทำให้เหล็กเป็ฯสนิม ตลอดทั้งทนทานต่อลมฟ้าอากาศที่จะทำลายเนื้อไม้ ดังจะเห็นได้จากสภาพของโบสถ์ วิหารที่มีอายุหลายร้อยปีที่สร้างขึ้นด้วยไม้สักในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือของไทย

ไม้สักในประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดในโลกและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างมาก ในสมัยก่อนไม้สักค่อนข้างจะหาง่ายและราคาไม่แพง ประชาชนสามารถสร้างบ้านทั้งหลังโดยใช้ไม้สักล้วน ๆ ได้ แต่ในปัจจุบันไม้สักในป่าธรรมชาติกำลังจะหมดไป เพราะความต้องการใช้สูง รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลุกไม้สักเพื่อใช้เองหรือเพื่อการค้าได้ และเนื่องจากความต้องการใช้ไม้มีมาก และนับวันจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงไม่ต้องห่วงเรื่องราคาและการตลาดสำหรับไม้ชนิดนี้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นไม้ขนาดเล็กที่ได้จากการตัดสางขยายระยะ หรือไม้ซุง เมื่อมีการตัดมาใช้ประโยชน์ครั้งสุดท้ายก็ตาม

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

งานวิจัย:การควบคุมหนอนผีเสีือเจาะต้นสักโดยไม่ใช้สารเคมี

โดย ฉวีวรรณ หุตะเจริญ, สัมฤทธิ์ ยินเจริญ, สุภโชติ อิ็งวิจารณ์ปัญญา และวิฑูรย์ เหลืองวิริยะแสง เผยแพร่ กลุ่มแมลงศัตรูป่าไม้ ส่วยวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ 2538

การใช้มด แบคทีเรีย (Bacillus thuringiensis Berliner) และไส้เดือยฝอย (Steinenema carpocapsae) ในการควบคุมหนอนผีเสือเจาะต้นสักที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง ร่วมกับการใช้แสงไฟสีม่วงดักจับผีเสื้อออกจากแปลงทดลองไม้ทำให้เปอร์เซนต์การทำลายจากตัวหนอนของต้นสักลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่มีการจับผีเสื้อออกจากแปลง การใช้สารล่อมดไม่ได้เพิมปริมาณมดให้มากกว่าที่มีอยู่ในธรรมชาติแต่อย่างใด แสดงว่าในธรรมชาติของท้องที่อำเภองาว จำหวัดลำปาง มีปริมาณมดเพียงพอที่จะควบคุมหนอนผีเสื้อเจาะต้นสักได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว

งานวิจัย:แนวคิดในการ จัดการมอดป่าเจาะต้นสักโดยวิธีปลูกแบบผสม

โดย ฉวีวรรณ หุตะเจริญ เผยแพร่ การประชุมวิชาการป่าไม้ ประจำปี 2535 16-20 พฤษจิกายน 2535 จังหวัดเชียงราย น.379-384;2535

การปลูกสร้างสวนป่าแบบผสมโดยใช้พืชป่าไม้หลายชนิดปลูกผสมกันไป เพื่อทำให้เกิดความหลากหลายของพรรณไม้และสัตว์นานาชนิด ก่อให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติ เป็นวิธีหนึ่งที่ยอมรับกันว่า สามารถลดภาวะการระบาดของโรคและแมลงได้ การจัดการเพื่อลดการะบาดทำลาย และลดการแพร่กระจายของมอดป่าเจาะต้นสัก (Xyleutes ceramicus Walker) โดยการปลูกป่าแบบผสมเป็นวิธีหนึ่งที่จะลดการใช้สารพิษในการป้องกันกำจัดมอดป่า เพื่อที่จะรักษาสภาพแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่สมดุล

การทำลายของมอดป่าในแปลงสักที่ปลูกผสมกับไม้อื่น และในพื้นที่ที่มีประวัติของการระบาด ควรทำการปลูกสักแบบผสมเป็นอย่างยิ่ง พืชป่าไม้ที่จะนำมาปลูกผสมต้องเป็นพื่ชที่มิใช่พืชอาหารของมอดป่า มีทรงพุ่มหนาแน่น ไม่มีการผลัดใบในช่วงที่ผีเสื้อออกเป็นตัวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน การปลูกผสมควรปลูกสิ่งกีดขวางล้อมรอบแปลง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของผีเสื้อมอดป่า จากภายนอกไม่ให้เข้ามาในแปลงปลูกเสียก่อน

ส่วนพื่้นที่ที่อยู่ภายในให้ปลูกเป็นแปลงเว้นแปลง แต่ละแปลงควรมีความกว้างประมาณ 100 เมตร ในแต่ละแปลงอาจทำการปลุกสลับแถวด้วย เพื่อลดการแพร่กระจายของตัวหนอนมอดป่า การกำหนดให้มอดป่าอยุ่ในพื้นที่ที่ถูกจำกัดจะช่วยส่งเสริมให้ตัวห้ำ ตัวเบียน และโรคเข้าทำลายมอดป่าได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการช่วยให้การใช้วิธีอื่น ๆ เพื่อการกำจัดมอดป่าทำได้สะดวกและประหยัด

อิทธิพลของการปลูกสักผสมยูคาลิปตัส ต่อการระบาดของมอดป่าเจาะต้นสัก

โดย สุรชัย ชลดำรงค์กุล และพรทิพย์ ผลวิชา เผยแพร่ การสัมมนา 50 ปี สวนสักห้วยทากเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มหาราชินี 5-8 สิงหาคม 2535 โรงแรงเวียงทอง จังหวัดลำปาง น.239-246;2535

การศึกษาอิทธิพลของการปลูกสักผสมยูคาลิปตัสต่อการระบายของมอดป่าเจาะต้นสัก เพื่อลดความรุนแรงของปัญหามอดป่าเจาะต้นสัก ได้ดำเนินการในสวนป่าไม้สักอายุ 7 ปี จำนวน 3 แห่ง คือ สวนป่าวังชิ้น ส่วนป่าแม่นาพูน และสวนป่าแม่ยมแม่แปง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ซึ่งปลูกทั้งไม้สักชนิดเดียว และปลูกสักผสมยูคาลิปต้ส พบว่า การปลูกสักผสมยูคาลิปตัส สามารถลดความเสียหายและความหนาแน่นของประชากรมอดป่าเจาะต้นสักได้ในระดับหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ปลูกชนิดเดียว

งานวิจัย:ความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตของช่อดอกสักกับชนิดของแมลงบนช่อดอก

โดย สรุชัย ชลดำรงค์กุล และฉลีวรรณ หุตุเจริญ เผยแพร่ วารสารสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 18(2):45-52;2529

การศึกษาความสัมพันธุ์ระหว่างการเจริญเติบโตช่อดอกสักและชนิดของแมลงบนช่อดอก ณ ศูนย์ปรับปรุงพันธุ์ไม้สัก อำเภองาว จังหวัดลำปาง เพื่อหาแมลงศัตรูที่แท้จริงของช่อดอกในระยะต่าง ๆ ได้ดำเนินตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายน 2528 พบว่า ดอกสักเริ่มแทงช่อตั้งแต่ต้นเดือนกรกฏาคมและจะเริ่มผลตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป แมลงที่พบบนช่อดอกสักตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม มี 14 ชนิด เป็นแมลงศัตรูดอกสัก 11 ชนิด และแมลงชนิดอื่นที่ไม่เป็นศัตรูต่อดอกสักอีก 3 ชนิด คือ มดดำ เหลือบ และผึ้งโพรง

สำหรับแมลงศัตรูดอกสักที่พบตลอดระยะการเติบโตของช่อดอกสัก คือ เพลี้ยกระโดดชนิด Macharota elegans Maa ซึ่งจะดูดน้ำเลื้ยงของช่อดอกสัก ตั้งแต่ยอดสักยังไม่แทงช่อดอกจนกระทั่งติดผล หลังจากดอกสักแทงช่อแล้ว ตั๊กแตนหนวดยาว Euconocephalus sp. จะกัดกินดอกตูมมากในเดือนกรกฏาคม แมลงที่พบในช่วงระหว่างดอกตูมและดอกบาน คือ หน่อนผีเสื้อกินดอกสักชนิด Pagida salvaris Walker หนอนปลอก หนอนบุ้งในวงศ์ Lymantriidae หนอนผีเสื้อกินใบสักชนิด Hyblaea puera (cramer) เพลี้ยกระโดด ptyelus sp. และ Leptocentrus sp. สำหรับในช่วงดอกสักเริ่มติดผลแล้ว E.machaeralis Walker และหนอนผีเสี้อลายจุดชนิด Dicho-crosis punctiferails Guenee จะร่วมกันทำลายผลอ่อน

งานวิจัย:วิธีเลี้ยงแตนเบียน Brachymeria lasus Walker ศัตรูธรรมชาติของหนอนกินใบสัก

โดย ฉวีวรรณ หุตะเจริญ และ พรทิพย์ ผลวิชา เผยแพร่ การประชุมวิชาการป่าไม้ ประจำปี 2535 ,16-20 พฤษจิกายน 2535 จังหวัดเชียงราย 2535

การเลี้ยงแตนเบียน Brachymeria lasus ศัตรูธรรมชาติของดักแด้ของหนอนกินใบสัก Hyblaea puera cramer สามารถทำได้สำเร็จในห้องปฏิบัติการ และสามารถผลิตได้ถึงชั่วลูกรุ่นที่ 2 ดักแด้ที่ให้เบียนคือดักแด้ของ H.puera ที่ได้จากการเลี้ยงตัวหนอนในอาหารเทียม อาหารที่ใช้เลี้ยง B.lasus คือสารละลายน้ำตาล 20% B.lasus ชอบเบียนดักแด้ที่มีปลอกมากกว่าที่ไม่มีปลอก ไม่มีความว่องไว ประสิทธิภาพในการค้นหาดักแด้เพื่อทำการเบียนต่ำและมีโอกาสเบียนดักแด้ซ้ำตัวเดิมได้

ระยะเวลาที่ปล่อยให้ดักแด้ H.puera ถูกเบียนที่ดีที่สุดคือ 1 วัน เมื่อปล่อยให้เบียนหลายวันจะเป็นเหตุให้เกิดการเบียนซ้ำ ทำให้เกิดตัวอ่อนในดักแด้ของ H.puera มากว่า 1 ตัว และตัวอ่อนของแตนเบียนจะกินกันเอง B.lasus ใช้เวลา 12-14 วัน เจริญอยู่ภายในดักแด้ H.puera ตั้งแต่ระยะไข่จนออกเป็นตัวเต็มวัย ตัวเต็มวันมีชีวิตอยู่ได้นานที่สุด 29 วัน พฤติกรรมอื่น ๆ ของ B.lasus ได้บันทึกไว้เช่นกัน

งานวิจัย:แนวทางการเพาะเลี้ยงมอนพิฆาต

โดย นายสุรชัย ชลดำรงค์กุล เผยแพร่ วนสาร 44(2) : 107-111;2529

รายงานนี้เป็นการกล่าวถึงความเป็นไปได้ของการเพาะเลี้ยงมวนพิฆาต (Eocanrhecona furcellata Wolff) ในการควมคุมหนอนกินใบสัก ที่ศูนย์ปราบศัตรูพืชป่าไม้ภาคเหนือ จังหวัดลำป่าง พบว่า การเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์มวนพิฆาต ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารในบริเวณที่อาศัย ซึ่งมีปริมาณไม่คงที่่ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถทำนายการผลิตได้ ดังนั้น ขั้นตอนในการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัตการโดยเฉพาะ การเพาะเลี้ยงเหยื่ออาหารให้ได้ปริมาณมากพอ และสม่ำเสมอ จะทำให้ประสบความสำเร็จ

งานวิจัย:ชีวประวัติและการทำลายของหนอนสร้างปมในลำต้นสัก

โดย คุณสังวล รัตนจันทร์ เผยแพร่ การประชุมวิชาการป่าไม้ ประจำปี 2537 ,21-25 พฤษจิกายน 2537 โรงแรมวังใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎานี

ตัวหนอนของด้วงหนวดยาว ชนิด Acalolepta cervinus (Hope) ได้สร้างปัญหาโดยสร้างปมที่ลำต้นและมีผลทำให้ตันสักหักโค่น จึงได้มีการศึกษาชีวประวัติ ความเสียหาย และลักษณะของปมที่เกิดในต้นสัก ที่ศูนย์วิจัยและควบคุมศัตรูพืช ป่าไม้ที่ 3 อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี พบว่า ตัวเต็มวัยออกจากดักแด้ในต้นสักในระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม ผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลาต่อมา ระยะไข่ไช้เวลา 10-14 วัน ตัวอ่อนอาศัยกินเนื้อเยื่อที่มีชีวิตในต้นสักและกระตุ้นให้ต้นสักสร้างปมโตขึ้นและชอนไชกินอยู่ใต้เปลีอกรอบปมนี้ การทำลายของตัวหนอนไม่ทำให้สักตาย แต่การกัดกินของตัวหนอนที่รุนแรงทำให้ต้นสักหักโค่น ณ จุดที่เป็นปมนั้น

การหักโค่นไนพื้นที่พบสูงถึง 50% การหักโค่นทำให้เกิดการแตกยอดด้านข้าง ปมเก่ามักจะถูกปลวกกันกินจนพรุนและเป็นแหล่งอาศัยของมด การเกิดปมในสักอายุ 1-2 ปี มีผลทำให้การเจริญเติบโตลดลง แต่ไม่มีผลในสักที่มีอายุมากขึ้น และสักอายุเกินกว่า 4 ปี มีเปลือกแข็งจะพบการทำลายน้อยลง ต้นสักหนื่ง ๆ มักจะพบ 1-2 ปมโดยเฉลี่ย และความสูงของปมที่พบมักอยู่ช่วงระดับผิวดิน ถึง 90 เซนติเมตร โดยทั่วไปจะไม่พบเกินกว่าระดับ 2.5 เมตร

ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ด้วงมาวางไข่โดยการพ่นสารกำจัดแมลง จึงแนะนำพ่นสารกำจัดแมลงที่ลำต้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 1.5 เมตร ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม การพ่นสารที่ลำต้นไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษ การป้องกันมิให้ปลวกเข้าทำลายในปมเก่าจะสามารถรักษาเนี้อไม้ไว้ได้

ที่มาของข้อมูล

หนังสือคู่มือการเกษตร
การปลูกและดูแลรักษาสวนป่า ไม้สักทอง ไม้เศรษฐกิจของชาติ
เรียบเรียงโดย ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์

บริการถ่ายภาพด้วยมืออาชีพ

...คลิกที่รูป....บริการถ่่ายภาพสุดประทับใจ¨ prewedding รับประริญญา พิธีการต่่าง ๆ แฟชั่นอีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com