การใช้มด แบคทีเรีย (Bacillus thuringiensis Berliner) และไส้เดือยฝอย (Steinenema carpocapsae) ในการควบคุมหนอนผีเสือเจาะต้นสักที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง ร่วมกับการใช้แสงไฟสีม่วงดักจับผีเสื้อออกจากแปลงทดลองไม้ทำให้เปอร์เซนต์การทำลายจากตัวหนอนของต้นสักลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่มีการจับผีเสื้อออกจากแปลง การใช้สารล่อมดไม่ได้เพิมปริมาณมดให้มากกว่าที่มีอยู่ในธรรมชาติแต่อย่างใด แสดงว่าในธรรมชาติของท้องที่อำเภองาว จำหวัดลำปาง มีปริมาณมดเพียงพอที่จะควบคุมหนอนผีเสื้อเจาะต้นสักได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว
ไม้สักทองเป็นไม้ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก อันเนื่องมาจากเนี้อไม้มีคุณภาพสูง เป็นไม้ที่มีสีสันและลวดลายธรรมชาติที่งดงาม ไม้สักชนิดหนึ่งสี่ของเนี้อไม้จะเป็นสีน้ำตาลทอง และมีลวดลายสีดำ เนื้อไม้ของไม้สักค่อนข้างที่จะละเอียด มีเสี้ยนตรง น้ำหนักเบา ทำให้ง่ายต่อการเลื่อย ไส และตบแต่ง แต่ก็มีความแข็งแรงพอสมควร
ไม้สักสามารถที่จะนำมาใช้งานได้แทบทุกอย่างเท่าที่ไม้เนื้อแข็งชนิดอื่น ๆ จะทำได้ เช่น นำมาใช้ในงานก่อสร้าง และโครงสร้างของที่อยุ่อาศัย ใช้ทำดาดฟ้าเรือ ใช้ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ และใช้ในการแกะสลักได้อย่างยอดเยี่อม ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ไม้สักยังมีความต้านต่อปลวก เชื้อรา เห็ดต่าง ๆ ทนต่อกรด ไม่ทำให้เหล็กเป็ฯสนิม ตลอดทั้งทนทานต่อลมฟ้าอากาศที่จะทำลายเนื้อไม้ ดังจะเห็นได้จากสภาพของโบสถ์ วิหารที่มีอายุหลายร้อยปีที่สร้างขึ้นด้วยไม้สักในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือของไทย
ไม้สักในประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดในโลกและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างมาก ในสมัยก่อนไม้สักค่อนข้างจะหาง่ายและราคาไม่แพง ประชาชนสามารถสร้างบ้านทั้งหลังโดยใช้ไม้สักล้วน ๆ ได้ แต่ในปัจจุบันไม้สักในป่าธรรมชาติกำลังจะหมดไป เพราะความต้องการใช้สูง รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลุกไม้สักเพื่อใช้เองหรือเพื่อการค้าได้ และเนื่องจากความต้องการใช้ไม้มีมาก และนับวันจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงไม่ต้องห่วงเรื่องราคาและการตลาดสำหรับไม้ชนิดนี้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นไม้ขนาดเล็กที่ได้จากการตัดสางขยายระยะ หรือไม้ซุง เมื่อมีการตัดมาใช้ประโยชน์ครั้งสุดท้ายก็ตาม
วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
งานวิจัย:การควบคุมหนอนผีเสีือเจาะต้นสักโดยไม่ใช้สารเคมี
โดย ฉวีวรรณ หุตะเจริญ, สัมฤทธิ์ ยินเจริญ, สุภโชติ อิ็งวิจารณ์ปัญญา และวิฑูรย์ เหลืองวิริยะแสง เผยแพร่ กลุ่มแมลงศัตรูป่าไม้ ส่วยวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ 2538
งานวิจัย:แนวคิดในการ จัดการมอดป่าเจาะต้นสักโดยวิธีปลูกแบบผสม
โดย ฉวีวรรณ หุตะเจริญ เผยแพร่ การประชุมวิชาการป่าไม้ ประจำปี 2535 16-20 พฤษจิกายน 2535 จังหวัดเชียงราย น.379-384;2535
การปลูกสร้างสวนป่าแบบผสมโดยใช้พืชป่าไม้หลายชนิดปลูกผสมกันไป เพื่อทำให้เกิดความหลากหลายของพรรณไม้และสัตว์นานาชนิด ก่อให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติ เป็นวิธีหนึ่งที่ยอมรับกันว่า สามารถลดภาวะการระบาดของโรคและแมลงได้ การจัดการเพื่อลดการะบาดทำลาย และลดการแพร่กระจายของมอดป่าเจาะต้นสัก (Xyleutes ceramicus Walker) โดยการปลูกป่าแบบผสมเป็นวิธีหนึ่งที่จะลดการใช้สารพิษในการป้องกันกำจัดมอดป่า เพื่อที่จะรักษาสภาพแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่สมดุล
การทำลายของมอดป่าในแปลงสักที่ปลูกผสมกับไม้อื่น และในพื้นที่ที่มีประวัติของการระบาด ควรทำการปลูกสักแบบผสมเป็นอย่างยิ่ง พืชป่าไม้ที่จะนำมาปลูกผสมต้องเป็นพื่ชที่มิใช่พืชอาหารของมอดป่า มีทรงพุ่มหนาแน่น ไม่มีการผลัดใบในช่วงที่ผีเสื้อออกเป็นตัวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน การปลูกผสมควรปลูกสิ่งกีดขวางล้อมรอบแปลง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของผีเสื้อมอดป่า จากภายนอกไม่ให้เข้ามาในแปลงปลูกเสียก่อน
ส่วนพื่้นที่ที่อยู่ภายในให้ปลูกเป็นแปลงเว้นแปลง แต่ละแปลงควรมีความกว้างประมาณ 100 เมตร ในแต่ละแปลงอาจทำการปลุกสลับแถวด้วย เพื่อลดการแพร่กระจายของตัวหนอนมอดป่า การกำหนดให้มอดป่าอยุ่ในพื้นที่ที่ถูกจำกัดจะช่วยส่งเสริมให้ตัวห้ำ ตัวเบียน และโรคเข้าทำลายมอดป่าได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการช่วยให้การใช้วิธีอื่น ๆ เพื่อการกำจัดมอดป่าทำได้สะดวกและประหยัด
ป้ายกำกับ:
งานวิจัย,
ป้องกัน,
วิจัย.มอด.เจาะ.ตันสัก,
วิธี
อิทธิพลของการปลูกสักผสมยูคาลิปตัส ต่อการระบาดของมอดป่าเจาะต้นสัก
โดย สุรชัย ชลดำรงค์กุล และพรทิพย์ ผลวิชา เผยแพร่ การสัมมนา 50 ปี สวนสักห้วยทากเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มหาราชินี 5-8 สิงหาคม 2535 โรงแรงเวียงทอง จังหวัดลำปาง น.239-246;2535
การศึกษาอิทธิพลของการปลูกสักผสมยูคาลิปตัสต่อการระบายของมอดป่าเจาะต้นสัก เพื่อลดความรุนแรงของปัญหามอดป่าเจาะต้นสัก ได้ดำเนินการในสวนป่าไม้สักอายุ 7 ปี จำนวน 3 แห่ง คือ สวนป่าวังชิ้น ส่วนป่าแม่นาพูน และสวนป่าแม่ยมแม่แปง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ซึ่งปลูกทั้งไม้สักชนิดเดียว และปลูกสักผสมยูคาลิปต้ส พบว่า การปลูกสักผสมยูคาลิปตัส สามารถลดความเสียหายและความหนาแน่นของประชากรมอดป่าเจาะต้นสักได้ในระดับหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ปลูกชนิดเดียว
งานวิจัย:ความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตของช่อดอกสักกับชนิดของแมลงบนช่อดอก
โดย สรุชัย ชลดำรงค์กุล และฉลีวรรณ หุตุเจริญ เผยแพร่ วารสารสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 18(2):45-52;2529
การศึกษาความสัมพันธุ์ระหว่างการเจริญเติบโตช่อดอกสักและชนิดของแมลงบนช่อดอก ณ ศูนย์ปรับปรุงพันธุ์ไม้สัก อำเภองาว จังหวัดลำปาง เพื่อหาแมลงศัตรูที่แท้จริงของช่อดอกในระยะต่าง ๆ ได้ดำเนินตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายน 2528 พบว่า ดอกสักเริ่มแทงช่อตั้งแต่ต้นเดือนกรกฏาคมและจะเริ่มผลตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป แมลงที่พบบนช่อดอกสักตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม มี 14 ชนิด เป็นแมลงศัตรูดอกสัก 11 ชนิด และแมลงชนิดอื่นที่ไม่เป็นศัตรูต่อดอกสักอีก 3 ชนิด คือ มดดำ เหลือบ และผึ้งโพรง
สำหรับแมลงศัตรูดอกสักที่พบตลอดระยะการเติบโตของช่อดอกสัก คือ เพลี้ยกระโดดชนิด Macharota elegans Maa ซึ่งจะดูดน้ำเลื้ยงของช่อดอกสัก ตั้งแต่ยอดสักยังไม่แทงช่อดอกจนกระทั่งติดผล หลังจากดอกสักแทงช่อแล้ว ตั๊กแตนหนวดยาว Euconocephalus sp. จะกัดกินดอกตูมมากในเดือนกรกฏาคม แมลงที่พบในช่วงระหว่างดอกตูมและดอกบาน คือ หน่อนผีเสื้อกินดอกสักชนิด Pagida salvaris Walker หนอนปลอก หนอนบุ้งในวงศ์ Lymantriidae หนอนผีเสื้อกินใบสักชนิด Hyblaea puera (cramer) เพลี้ยกระโดด ptyelus sp. และ Leptocentrus sp. สำหรับในช่วงดอกสักเริ่มติดผลแล้ว E.machaeralis Walker และหนอนผีเสี้อลายจุดชนิด Dicho-crosis punctiferails Guenee จะร่วมกันทำลายผลอ่อน
ป้ายกำกับ:
การเจริญเติบโต,
ชนิดของแมลง,
ช่อดอก,
ตันสัก,
สัก
งานวิจัย:วิธีเลี้ยงแตนเบียน Brachymeria lasus Walker ศัตรูธรรมชาติของหนอนกินใบสัก
โดย ฉวีวรรณ หุตะเจริญ และ พรทิพย์ ผลวิชา เผยแพร่ การประชุมวิชาการป่าไม้ ประจำปี 2535 ,16-20 พฤษจิกายน 2535 จังหวัดเชียงราย 2535
การเลี้ยงแตนเบียน Brachymeria lasus ศัตรูธรรมชาติของดักแด้ของหนอนกินใบสัก Hyblaea puera cramer สามารถทำได้สำเร็จในห้องปฏิบัติการ และสามารถผลิตได้ถึงชั่วลูกรุ่นที่ 2 ดักแด้ที่ให้เบียนคือดักแด้ของ H.puera ที่ได้จากการเลี้ยงตัวหนอนในอาหารเทียม อาหารที่ใช้เลี้ยง B.lasus คือสารละลายน้ำตาล 20% B.lasus ชอบเบียนดักแด้ที่มีปลอกมากกว่าที่ไม่มีปลอก ไม่มีความว่องไว ประสิทธิภาพในการค้นหาดักแด้เพื่อทำการเบียนต่ำและมีโอกาสเบียนดักแด้ซ้ำตัวเดิมได้
ระยะเวลาที่ปล่อยให้ดักแด้ H.puera ถูกเบียนที่ดีที่สุดคือ 1 วัน เมื่อปล่อยให้เบียนหลายวันจะเป็นเหตุให้เกิดการเบียนซ้ำ ทำให้เกิดตัวอ่อนในดักแด้ของ H.puera มากว่า 1 ตัว และตัวอ่อนของแตนเบียนจะกินกันเอง B.lasus ใช้เวลา 12-14 วัน เจริญอยู่ภายในดักแด้ H.puera ตั้งแต่ระยะไข่จนออกเป็นตัวเต็มวัย ตัวเต็มวันมีชีวิตอยู่ได้นานที่สุด 29 วัน พฤติกรรมอื่น ๆ ของ B.lasus ได้บันทึกไว้เช่นกัน
งานวิจัย:แนวทางการเพาะเลี้ยงมอนพิฆาต
โดย นายสุรชัย ชลดำรงค์กุล เผยแพร่ วนสาร 44(2) : 107-111;2529
รายงานนี้เป็นการกล่าวถึงความเป็นไปได้ของการเพาะเลี้ยงมวนพิฆาต (Eocanrhecona furcellata Wolff) ในการควมคุมหนอนกินใบสัก ที่ศูนย์ปราบศัตรูพืชป่าไม้ภาคเหนือ จังหวัดลำป่าง พบว่า การเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์มวนพิฆาต ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารในบริเวณที่อาศัย ซึ่งมีปริมาณไม่คงที่่ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถทำนายการผลิตได้ ดังนั้น ขั้นตอนในการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัตการโดยเฉพาะ การเพาะเลี้ยงเหยื่ออาหารให้ได้ปริมาณมากพอ และสม่ำเสมอ จะทำให้ประสบความสำเร็จ
งานวิจัย:ชีวประวัติและการทำลายของหนอนสร้างปมในลำต้นสัก
โดย คุณสังวล รัตนจันทร์ เผยแพร่ การประชุมวิชาการป่าไม้ ประจำปี 2537 ,21-25 พฤษจิกายน 2537 โรงแรมวังใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎานี
ตัวหนอนของด้วงหนวดยาว ชนิด Acalolepta cervinus (Hope) ได้สร้างปัญหาโดยสร้างปมที่ลำต้นและมีผลทำให้ตันสักหักโค่น จึงได้มีการศึกษาชีวประวัติ ความเสียหาย และลักษณะของปมที่เกิดในต้นสัก ที่ศูนย์วิจัยและควบคุมศัตรูพืช ป่าไม้ที่ 3 อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี พบว่า ตัวเต็มวัยออกจากดักแด้ในต้นสักในระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม ผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลาต่อมา ระยะไข่ไช้เวลา 10-14 วัน ตัวอ่อนอาศัยกินเนื้อเยื่อที่มีชีวิตในต้นสักและกระตุ้นให้ต้นสักสร้างปมโตขึ้นและชอนไชกินอยู่ใต้เปลีอกรอบปมนี้ การทำลายของตัวหนอนไม่ทำให้สักตาย แต่การกัดกินของตัวหนอนที่รุนแรงทำให้ต้นสักหักโค่น ณ จุดที่เป็นปมนั้น
การหักโค่นไนพื้นที่พบสูงถึง 50% การหักโค่นทำให้เกิดการแตกยอดด้านข้าง ปมเก่ามักจะถูกปลวกกันกินจนพรุนและเป็นแหล่งอาศัยของมด การเกิดปมในสักอายุ 1-2 ปี มีผลทำให้การเจริญเติบโตลดลง แต่ไม่มีผลในสักที่มีอายุมากขึ้น และสักอายุเกินกว่า 4 ปี มีเปลือกแข็งจะพบการทำลายน้อยลง ต้นสักหนื่ง ๆ มักจะพบ 1-2 ปมโดยเฉลี่ย และความสูงของปมที่พบมักอยู่ช่วงระดับผิวดิน ถึง 90 เซนติเมตร โดยทั่วไปจะไม่พบเกินกว่าระดับ 2.5 เมตร
ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ด้วงมาวางไข่โดยการพ่นสารกำจัดแมลง จึงแนะนำพ่นสารกำจัดแมลงที่ลำต้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 1.5 เมตร ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม การพ่นสารที่ลำต้นไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษ การป้องกันมิให้ปลวกเข้าทำลายในปมเก่าจะสามารถรักษาเนี้อไม้ไว้ได้
งายวิจัย:การพัฒนาการวิจัยแมลงศัตรูตันสักในประเทศไทย
โดย นางสาวฉวีวรรณ หุตะเจริญ เผยแพร่ การสัมมนา 50 ปี สวนสักห้วยทากเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มหาราชินี 5-8 สิงหาคมจังหวัดลำปาง
การศักษาแมลงศัตรูต้นสักของประเทศไทย ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2501 โดยเริ่มจากมอดป่าเจาะต้นสัก แต่เป็นเพียงการสำรวจ และสังเกตการณ์ทางชีววิทยาโดยทั้วไป ต่อมาได้มีการศึกษาหนอนผีเสื้อกินใบสัก ซึ่งมีการทำลายใบสักให้เกิดความเสียหายในพื้นที่กว้างขวางจนต้องมีการตั้งศูนย์ปรามศัตรูป่าไม้ขึ้น เพื่อทำการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูต้นสักเป็นวัตถุประสงค์หลัก และการป้องกันกำจัดได้ทำกันอย่างกว้างขวางโดยใช้เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis
กรศึกษาวิจัยได้ครอบคลุมไปถึงแมลงศัตรูดอกและเมล็ดไม้สัก แมลงศัตรูของไม้สักอื่น ๆ ยังคงเป็นการสำรวจและสังเกตการณ์อยู่ เนื่องจากขาดนักวิชาการที่จะมาปฏิบัติงานวิจัย ในปี พ.ศ.2531 ได้มีการรวบรวมแมลงศัตรูต้นสักที่พบในประเทศไทย พบว่ามีทั้งสิ้น 56 ชนิด และในปีเดียวกันนั้น ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น จึงได้มีการศึกษามอดป่าเจาะต้นสักอย่างจริงจัง โดยได้มีการศักษาสารฮอร์โมนทางเพศ การเลี้ยงหนอนด้วยอาหารเทียม ศึกษาพลวัตรของประชากรและพฤติกรรมอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การป้องกันกำจัด และในปัจจบันยังได้ดำเนินการศึกษาแมลงศัตรูธรรมชาติของหนอนกินใบสักด้วย
งายวิจัย:ผลของการตัดให้แตกหน่อต่อผลผลิตยอดและความสามารถในการแตกรากของยอดในกล้าไม้สัก
โดย นางสาวสุนันทา วิสิทธิพานิช นายไพรัช ปิยะพันธุ์ และนายวิเชียร สุมันตกุล ลงพิมพ์เผยแพร่ในรายงานการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 38 สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน้า 9
การศึกษาเรื่องนี้ได้ดำเนินการที่ศูนย์บำรุงพันธุ์ไม้สัก อำเภองาว จังหวัดลำปาง โดยศึกษาถึงผลการควบคุมความสูงของต้นตอ (ที่ 3 ระดับ คือ 5, 10, และ 20 เซนติเมตร) และจำนวนข้อ ( 2 ข้อ และ 3 ข้อ) ที่จะเหลือไว้เพื่อการผลิตหน่อ รวมทั้งผลของการลิตใบต่อผลผลิตของหน่อที่ได้ของหน่อที่ได้ของไม้สักที่ย้ายปลูกอายุ 1 ปี
ผลการทดลองพบว่า การตัดให้เหลือตอสูง 10 และ 20 เซนติเมตร จะทำให้มีผลผลิตของหน่อ (เฉลี่ย 2.62-2.92 หน่อ/ต้น) มากกว่าการตัดให้แตกหน่อที่มีตอสูงเพียง 5 เซนติเมตร (เฉลี่ย 2.10 หน่อ/ต้น) โดยการเหลือจำนวนข้อไว้ 3 ข้อ (เฉลี่ย 8.33 หน่อ/ต้น) ให้ผลผลิตดีกว่าการเหลือข้อไว้ 2 ข้อ (เฉลี่ย 6.17 หน่อ/ต้น)
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะทำการตัดให้ตอสูงเท่าใด หรือเหลือจำนวนข้อไว้มากน้อยเพียงใด ก็จะไม่มีผลต่อเปอร์เซนต์การรอดตายของกล้าไม้ ความโต และความสูงของหน่อเฉลี่ย การตัดหลาย ๆ ครั้งจะทำให้การเติบโตของหน่อใหม่ลดลง และทำให้การแตกรากของยอดที่นำมาตัดชำดีขึ้น ส่วนการลิดใบออกไม่มีผลต่อจำนวนหน่อที่แตกใหม่ แต่กลับทำให้การเติบโตของหน่อใหม่ลดลง
วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
งานวิจัย:การผลิตเหง้าจากกิ่งตัดชำของกล้าไม้สัก
โดย นางสาวสุนันทา วิสิทธิพานิช นายไพรัช ปิยะพันธุ์ และนายวิเชียร สุมันตกุล ลงพิมพ์เผยแพร่ในรายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 37 สาขาการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หน้า 316-325
การศึกษาถึงความเป็นไปได้ของการผลิตเหง้าไม้สักจากกิ่งตัดชำ ที่สถานีบำรุงพันธุ์ไม้สัก อำเภองาว จังหวัดลำปาง โดยแบ่งงานทดลองออกเป็น 2 ขั้นตอน ใหญ่ ๆ คือ การทดลองหาเทคนิคการย้ายชำ และเพาะชำกิ่งลงแปลงเพาะเพื่อผลิตเหง้า และการทดลองชำเหง้าที่ได้จากกิ่งตัดชำเปรียบเทียบกับเหง้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด
ผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า
เทคนิคการย้ายชำกิ่งตัดชำลงแปลงเพาะที่ดีที่สุด คือ ทำการตัดชำลงบนแปลงเพาะโดยตรง ซึ่่่งจะดีกว่าการชำให้แตกรากก่อนแล้วย้ายลงแปลงภายหลัง โดยมีการเติบโตของกล้าไม้ตัดชำดีที่สุด มีเปอร์เซนต์การรอดตายและจำนวนรากหลัก (main root or tap root like root) ที่ได้ไม่ต่างจากการย้ายชำกิ่งตัดชำที่งอกรากแล้วชำลงแปลง เหง้าที่ได้จะมีจำนวนรากหลักระหว่าง 1-5 ราก เป็นเหง้าที่มีรากเดียว 22.41 % และเป็นเหง้าที่มีรากหลัก 2 ราก 43.42 %
การทดลองปักชำให้เกิดรากก่อน แล้วจึงย้ายชำลงแปลงเพาะนั้น พบว่า การเด็ดรากให้เหลือเพียง 1 ราก ก่อนการย้ายลงแปลงเพาะ ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้ และจำนวนรากหลักที่ได้
การทดลองชำเหง้าที่ได้จากกิ่งตัดชำ พบว่า กล้าจากเหง้าของกิ่งตัดชำจะมีการเติบโตและเปอร์เซนต์การรอดตายสูงกว่าเหง้าจากเมล็ดที่ได้จากต้นกล้าที่มีอายุเท่ากัน
การทดลองแบ่งเหง้าที่ได้จากกิ่งตัดชำ ซึ่งปกติจะมีรากหลักมากกว่า 1 ราก ให้เป็น 2 ส่วน(เหง้า) จะทำให้เปอร์เซนต์การรอดตายของกล้าไม้ลดลงจาก 94.45% เป็น 83.33% รวมทั้งจะทำให้การเติบโตของกล้าไม้ลดลงด้วย
การทดลองชำรากของกิ่งตัดชำ (รากที่แตกจากรากหลักหรือส่วนของรากแขนของกิ่งชำ) พบว่า รากที่แตกจากรากหลัก ไม่สามารถที่จะนำไปขยายพันธุ์ได้และ ขนาดของเหง้าที่ได้จากกิ่งตัดชำ จะไม่มีผลต่อเปอร์เซนต์การรอดตายของกล้าไม้จากเหง้าแต่จะมีผลต่อการเติบโตของกล้าไม้
งานวิจัย:การศึกษาระดับความชื้นของดินต่อการเจริญเติบโตของกล้าสัก
โดย นายวีระพงษ์ สวงโท และนายวิเศษศักดิ์ ทองประดิษฐ์ รายงานวนวัฒนวิจัย ประจำปี พ.ศ.2542 ส่วนวนวัฒนวิจัย สำนักวิชาการป่าไม้ หน้า 15-26
การศึกษาเกี่ยวกับความชื้้นของดินต่อการเจริญเติบโตของกล้าสัก ได้ดำเนินการที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ไม้ป่าภาคเหนือ จำหวัดลำปาง ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ค.2541 ถึง กันยายน พ.ศ.2542 โดยการจัดสร้างแปลงปักชำกล้าไม้ในเรือนพลาสติก และควบคุมความชื้นของดินโดยวิธี capillary force ได้ทำการศึกษาระดับความชื้น 5 ระดับ (Treatments) ซึ่งคำนวณเป็นเปอร์เซนต์ความชื้นได้เท่ากับ 22.3, 19.4, 14.5, 12.5, และ9.0 เปอร์เซนต์ ของน้ำหนักแห้ง ตามความสูงของผิวบนแปลงปักชำจากระดับน้ำที่หล่อเลี้ยงอยูข้างล่าง
ผลจาการทดลองปรากฏว่า อัตราการแตกหน่อของเหง้าสักใน Treatment ต่าง ๆ เท่ากับ 78, 49, 25, 9 และ 0 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการเจริญเติบโตของกล้าสัก 5 เดือน หลังจากการปักชำเหง้า ปรากฏว่าที่ระดับความชื้นของดิน 14.5% ให้ผลดีที่สุด และแตกต่างจาก treatment อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการทดลองได้อภิปรายในรายละเอียด และให้ข้อเสนอแนะในการเลือกพื้นที่สำหรับปลูกไม้สักให้ประสบผลสำเร็จต่อไปด้วย
วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
งานวิจัย:การศึกษาความเสียหายของไม้สักที่เกิดจากมอดป่าเจาะไม้สักที่สวนผลิดเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าแม่กา จังหวัดพะเยา
โดย ทวี ไชยเรืองศิริกุล รายงานวิฒนวิจัย ประจำปี 2542 ส่วนวนวัฒนวิจัย สำนักวิชาการป่าไม้ หน้า 123-136
การศึกษาความเสียหายของไม้สัก ที่เกิดจากมอดป่าเจาะลำต้น ในสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สัก แปลงปี 2508 ของสถานีผลิตเมล็ตดพันธุ์ไม้ แม่กา จังหวัดพะเยา ประกอบด้วยแม่ไม้สัก จำนวน 16 สายพันธุ์ พบว่า ต้นสักที่ศึกษามีความโต ความสูงทั้งต้น อัตราความเสียหาย และอัตราการทำลายเฉลี่ย 37.9 เซนติเมตร 21.8 เซนติเมตร 55.8 % และ 4.6 รู/ต้น ตามลำดับ โดยสายพันธุ์ที่คัดเลือกจากส่วนป่ามีค่าเฉลี่ย 40.9 เซนติเมตร 22.6 เมตร 73.9% และ 6.9 รู/ต้น ตามลำดับ ซึ่งมีค่าสูงกว่าสายพันธุ์ที่คัดเลือกจากป่าธรรมชาติ ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 36.5 เซนติเมตร 21.5 เมตร และสูงกว่า 10 เมตร มีค่าเฉลี่ย 2.4,2.1 และ 0.2 รู/ต้น ตามลำดับ และการทำลาย พบทางทิศตะวันออกมากว่าทางทิศตะวันตก ไม่ว่าแม่ไม้นั้นจะเป็นสายพันธุ์คัดเลือกมาจากส่วนป่าหรือป่าธรรมชาติ
แม่ไม้สายพันธุ์หมายเลข 22 จะมีคุณภาพเนี้อไม้ดีกว่าเมือเปรียบเทียบกับแม่ไม้สายพันธุ์อื่่น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากมีความโต อัตราความเสียหาย และอัตราการทำลายค่อนข้างต่ำ และแม่ไม้สายพันธุ์ที่ควรพิจารณารองลงมา ได้แก่ แม่ไม้สายพันธุ์ หมายเลข 27 และ 26
งานวิจัย:ความแตกต่างทางพันธุ์ของการเจริญเติบโตและลักษณะภายนอกบางประการของไม้สัก
โดย สุภัทรา ถึกสถิตย์ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต วิทยาศาสตร์(วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) โครงการสหวิทยาการระดับบัณฑิตศึกษา (Environmental Science) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความแตกต่างทางพันธุ์จากต่างแหล่งในการเจริญเติบโตและลักษณะภายนอกบางประการ นอกจากนี้ยังศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับน้ำต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้สัก รวมทั้งการศึกษาความสนใจใจการทำฟาร์มไม้สัก งานวิจัยนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและการพัฒนาของไม้สัก เพื่อการใช้ประโยชน์ในอนาคต ในการศึกษาการเจริญเติบโตของไม้สักอายุ 15 ปี ในClone Band ของบริษัท ไม้อัดไทย จำกัด
ในสภาพฟาร์มไม้สักที่มีการจัดการดี ความแตกต่างทางพันธุ์ในลักษณะการเจริญเติบโตมีน้อย หลังจากการให้น้ำหยดติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 ปี ความแตกต่างในความสูงและความโตของไม้สัก อายุ 32 เดือน มีความแตกต่างระหว่าง block ในการศึกษาการให้น้ำกล้าไม้สัก พบว่ากล้าไม้สักจากเหง้าสักทนต่อสภาพแห้งแล้งกว่ากล้าไม้สักที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การศึกษาพบว่าพื้นที่ผิวใบของกล้าไม้สักที่มีการให้น้ำแตกต่างกัน จะเพิ่มขึ้นในทิศมางเดียวกันในสัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่ 2 ส่วนการให้น้ำเพียงครั้งเดียวในช่วงปลูก พื้นที่ผิวใบจะลดลงมากในสัปดาห์ที่สาม และจะตายหมดในสัปดาห์ที่ 4
ในการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปลูกป่าเสริมธรรมชาติ ทั้งสองกลุ่มไม่เห็นด้วยกับการปิดป่าสัมปทาน ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ป่าไม้และเจ้าของฟาร์มมีพื้นที่ส่วนป่าสักน้อยกว่า 100 ไร่ ปลูกสักโดยใช้เหง้าด้วยระยะห่าง 2x4 เมตร ไฟป่า แมลง และโรค เป็นปัญหาสำคัญในฟาร์มป่าไม้สัก ไม้สักที่ปลูกจะจำหน่ายแก่ตลาดใกล้เคียง
งานวิจัย:วิเคราะห์สวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สักในประเทศไทย
วิเคราะห์สวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สักในประเทศไทย
โดย ประสิทธ์ เพียรอนุรักษ์ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต(วนศาสตร์) วนวัฒนวิทยา(วนวัฒนวิทยา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย 2538
การศึกษาสถานภาพสวนผลิตเมล็ดพันธู์ไม้สักในประเทศไทย ได้ดำเนินการศึกษาที่สวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สักจำนวน 21 แห่ง โดยทำการศึกษาลักษณะถูมิประเทศ ภูมิอากาศ การปลุก การเจริญเติบโต การดูแลรักษา และอันตรายจากโรกและแมลง จากแบบสอบถามศึกษาสมบัติของดิน โดยวิเคราะห์หาสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน รวมทั้งศึกษาลักษณะผล โดยการวัดขนาดและชั่งน้ำหนักหาจำนวนเมล็ดในผลด้วยวิธีการเอกซเรย์ และศึกษาปริมาณผลผลิตพันธุ์แต่ละแห่งด้วยแบบสอบถาม
ผลการศึกษา พบว่า สวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สักในประเทศไทยทั้ง 21 แห่ง มีเนื้อที่รวม 12,652 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่มีภาพป่าเดิมเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ความลาดชันค่อนข้างสูง ปริมาณน้ำฝนค่อนข้างต่ำ ปลูกสร้างโดยใช้ระยะปลุก 6x6 ถึง 12x12 เมตร ส่วนใหญ่ปลูกด้วยแม่ไม้ 16-40 แม่ไม้ต่อหนึ่งแปลงปลูก และมีอัตราการเจริญเติบโตทางเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ย 1.0-1.7 เชนติเมตร/ปี ดินในสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สักมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 1.2 เซนติเมตร ร้อยละ 50 มีขนาดระหว่าง 1.2-1.4 เซนติเมตร มีจำนวนผลฉลี่ย 1,974 ผลต่อกิโลกรัม ผลสักเป็นผลเปล่า ร้อยละ 28 สำหรับผลที่มีเมล็ดอยุ่ภายในส่วนใหญ่ จะมีเมล็ดเพียง 1 เมล็ด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 46 เมื่อผลมีขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร จะมีผลที่มีเมล็ดอยู่ภายในเพียงร้อยละ 30 แต่จะมีมากถึงร้อยละ 89 เมื่อผลมีขนาดโตกว่า 1.4 เซนติเมตร และสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สักในประเทศไทย ให้ผลผลิตเมล็ดรวมกันประมาณ 3,588 ถัง หรือ 16,101 กิโลกรัม/ปี หรือ เฉลี่ย 1.3 กิโลกรัม/ไร/ปี
งานวิจัย:การขยายพันธู้ต้นสักด้วยวิธีการตอนกิ่ง
การขยายพันธุ์ต้นสักด้วยวิธีการตอนกิ่ง
โดย สถานีผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าแม่ทะ กรมป่าไม้ กำลังพยายามศึกษาเทคนิคการปลูกต้นสักด้วยวิธีใหม่ คือ การขยายพันธุ์ต้นสักด้วยวิธีการตอนกิ่งไม้สัก โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อทดลองตอนกิ่งไม้สักจากต้นที่มีอายุมาก เนื่องจากยังไม่พบว่าผู้ใดสามารถตอนกิ่งไม้สักจากต้นที่มีอายุมากได้ และ ต้องการสร้างสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สัก และสวนผสมพันธุ์ไม้สักในกระถาง โดยใช้ขั้นตอนการตอนกิ่งไม้สัก ดังนี้
1.กิ่งตอนที่ใช้กิ่งจากต้นที่มีอายุประมาณ 10 ปี
2.ควั่นให้แผลยาว 10 นิ้ว
3.ตอนเดือนพฤษภาคม น่าจะได้ผลดีกว่าเดือนอื่น ๆ
4.วัสดุ ประกอบด้วย ดิน 2 กระป๋องนม ทรายหยาบ 1 กระป๋องนม โพลิเมอร์แห้ง 2 ช้อนชา(ไม่พูน) และปุ๋ยสูตร 15-15-15 ปริมาณ 2 ช้อนพูน ผสมให้เข้ากัน
5.ทาฮาร์โมน Seradix เบอร์ 1 ที่รอยควั่นด้านบน แล้วพอกหุ้มแผลส่วนบนด้วยวัสดุตอนหุ้มไว้ประมาณ 6 นิ้ว หลังจากนั้นจะหุ้มด้วยกาบมะพร้าว (ที่แช่น้ำไว้ 3 เดือน) โดยเว้นรอยควั่นไว้ 4 นิ้วไม่ให้มีอะไรอาหุ้ม เพื่อไม่ให้แคคลัสมาเชื่อมกัน
6.อายุกิ่งตอน 1.5-2 เดือน ให้ย้ายลงปลูก ราดด้วย Seradix เบอร์ 1 ที่ผสมน้ำ 2 ช้อนชา/น้ำ 1 บัวรดน้ำ หรือประมาณ 15 ลิตร เก็บรักษาไว้ในร่ม พรางแสงประมาณ 50 % ใช้ฟูราดาน 3 จี รองพื้นรดน้ำเช้าเย็น
รายได้จากการขายไม้สักในสวนป่าเมื่ออายุครบรอบตัดฟัน 15 ปี
1.ปริมาตรไม้จากการตัดสางขยายระยะเมื่ออายุ 11 ปี จะได้ไม้ที่มีเส้นรอบวงกลางท่อนประมาณ 50-60 เซนติเมตร มีปริมาตร 3 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ราคาลูกบาศก์เมตรละ 6,200 บาท(ข้อมูลราคาไม้ซุงสักจากองค์การอุตส่าหกรรมป่าไม้ ช่วงระยะเวลาสิงหาคม34) จะมีรายได้จากการขายไม้ประมาณไร่ละ 18,600 บาท
2.ปริมาตรไม้จากการตัดไม้เมื่ออายุครบรอบตัดฟัน 15 ปี จะได้ไม้ที่มีเส้นรอบวงกลางท่อนประมาณ 80-90 เซนติเมตร และมีปริมาตรไว้ประมาณ 12 ลุกบาศก์เมตร ต่อไร่ ราคาไม้ตามที่ประมาณไว้ลูกบาศก์เมตรละ 8,200 บาท จะมีรายได้จากการขายไม้ไร่ละ 98,400 บาท ต่อไร่
ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจจากการขายไม้สักรวมทั้งสิ้น 117,000 บาทต่อไร่ ในระยะเวลา 15 ปีนั้น กำไรที่จะได้จากการปลูกสร้างสวนป่าไม้ตามโครงการนี้ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 89,000 บาท(117,000-28,000) ต่อไร่ ต่อ 15 ปี โดยเฉลี่ยแล้ว เกษตรกรจะมีรายได้หรือผลตอบแทนประมาณไร่ละ 5,900 บาท ต่อไร่ ซึ่งยังไม่รวมถึงรายได้ จากการขายพืชผลทางการเกษตรที่สามารถปลูกร่วมกับไม้สักได้ด้วย
ความพยายามของกรมป่าไม้ที่จะพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ไม้สักประสบความสำเร็จเป็นที่พอใจของภาครัฐและเอกชน เพราะสามารถย่อระยะเวลาปลูกไม้สัก จากเดิมที่ต้องใช้ระยะเวลาปลูกถึง 40-50 ปี ถึงจะตัดฟันเป็นไม้ซุง แต่ปัจจุบันใช้เวลาเพียง 15 ปี โดยต้นสักสามารถเจริญเติบโตเร็วขึ้น มีขนาดเส้นรอบวงถึง 100 เซนติเมตร มีอัตราเติบโตเฉลี่ยได้เส้นรอบวงเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เซนติเมตร/ปี ซึ่งจะขายไม้ได้ในราคาลูกบาศก์เมตรละ 10,000 บาท
การเจริญเติมโตและผลผลิตแต่ละช่วงอายุของไม้สัก
ไม้สักจัดได้ว่าเป็นไม้โตเร็วชนิดหนึ่่ง เมื่อเทียบกับไม้ชนิดอื่นอีกหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจริญเติบโตในช่วง 10 ปีแรก จะเร็วมาก อย่างไรก็ตาม ไม้สักจะโตเร็วมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ
1.สภาพพื้นที่ที่ปลูก รวมทั้งการเตรียมพื้นที่
2.การจัดการสวนป่ารวมทั้งการบำรุงรักษา
3.คุณภาพของเมล็ด หรือกล้าพันธ์ที่ใช้ปลูก
ในพื้นที่ที่เหมาะสมและมีการจัดการสวนป่าเป็นอย่างดี ด้นสักอายุ 10 ปี จะสูงเฉลี่ยมากกว่า 15 เมตรขึ้นไป และมีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยมากกว่า 15 เซนติเมตร มีผลผลิต(ไม้ท่อน) สูงกว่า 13 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ หลังจากนั้นการเจริญเติบโตทางความสูงจะลดลง
การบำรุงรักษาต้นสัก
การบำรุงรักษาต้นสักที่ปลูกแล้วต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงแรก ๆ เพื่อให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโต รอดตายสูง ปราศจากโรคและแมลงทำลาย การบำรุงรักษาสวนไม้สัก ประกอบด้วย
- การแผ้วถางวัชพืช ควรกำจัดวัชพืชให้โล่งเตียนตลอดเวลา เพื่อลดการแก่งแย่งธาตุอาหารในดิน และเบียดบังแสงแดดซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต และยังช่วยป้องกันไฟป่าอันอาจจะเกิดขึ้นในฤดูแล้งได้ด้วย
- การใส่ปุ๋ย ในพื้นที่ที่มีดินเลวควรใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก ๆ โดยใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 22-11-11 ใส่ต้นไม้ปีละ 1-2 ครั้ง โดยปีแรกใส่ครั้งละ 25 กรัม ต่อต้น ปีที่ 2 ใส่ 50 กรัม ต่อต้น ปีที่ 3 ใส่ 75 กรัม ต่อต้น ปีที่ 4-5 ใส่ประมาณ 100 กรัม ต่อต้น หากใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักด้วย ก็จะทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น
- การป้องกันไฟป่า โดยทำทางตรวจการและแนวป้องกันไฟรอบ ๆ แปลง และควบคุมวัชพืช ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงในบริเวณสวนให้เตียนตลอดฤดูแล้ง เพราะหากเกิดไฟป่าในสวนสักจะทำให้ต้นไม้ที่ยังเล็กอยู่ได้รับความเสียหายได้
- การป้องกันโรคและแมลง โรคที่พบส่วนใหญ่ในต้นสักขนาดเล็ก คือ โรคเน่าคอดิน ซึ่งทำให้ต้นตายได้ เกิดจากดินมีความชื้นสูงเกินไป หรือน้ำท่วมขัง การแก้ไขโดยขจัดระบบการระบายน้ำให้ดีหรือหลีกเลี่ยงการปลูกบริเวณที่ลุ่ม น้ำท่วมขังได้ง่าย
- เมื่อต้นไม้มีอายุมากขึ้นและขนาดโตขึ้น ควรมีการผลิตและตกแต่งกิ่งเพื่อให้ลำต้นสวยงาม การตัดสางขยายระยะเพื่อเปิดโอกาสให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้เต็มที่
การปลูกสัก
ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับปลูกสักที่จะให้ผลดีที่สุด คือ ช่วงต้นฤดูฝน หลังจากที่มีฝนตกหนักและดินชุ่มชื้นเพียงพอ (เดือนพฤษภาคม) หลังจากปลูกแล้วหากเกิดฝนทิ้งช่วงก็ควรรดน้ำช่วย จะทำให้เปอร์เซ็นต์การรอดตายสูงและมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
วิธีการปลูกด้วยเหง้า กระทำโดยใช้เหล็กชะแลงกระทุ้งดินให้เป็นรูลึกเท่าความยาวของเหง้าสัก แล้วนำเหง้าที่เตรียมไว้เสียบลงไปให้พอดีกับระดับดิน หรือต่ำกว่าผิวดินเล็กน้อย ใช้ชะแลงอัดดินข้างรูปลูกให้แน่น เพื่อให้เหง้าฝังแน่นกระชับอยู่ในดิน วิธีปลูกด้วยเหง้านี้เป็นวิธีที่ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อยและยังทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตดีด้วย เพราะในเหง้าสักมีการสะสมอาหารไว้สำหรับการเจริญเติบโต การปลูกด้วยเหง้าควรคัดเลือกเหง้าที่มีขนาดเท่ากันปลูกในบริเวณเดียวกัน เพื่อให้ต้นไม้เติบโตอย่างสม่ำเสมอมากที่สุด
การปลูกด้วยกล้าชำถุง เหมาะสำหรับการปลูกในพื้นที่ไม่มากนัก หากได้มีการคัดเลือกกล้าเป็นอย่างดีก็จะได้ต้นสักที่เจริญเติบโตเร็ว และสม่ำเสมอเช่นกัน การปลูกสักด้วยกล้านี้ควรขุดหลุมปลูกขนาด 20x20x20 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมี ผสมกับหน้าดิน และเศษใบไม้หรือวัชพืช กล้าไม้ที่นำไปปลูกควรมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร และได้รับการทำให้แกร่งเป็นอย่างดีแล้ว เมื่อปลูกแล้วอัดดินรอบ ๆ โคนต้นให้แน่น หากรดน้ำด้วยในช่วงฝนทิ้งช่วงก็จะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น
การเตรียมพื้นที่ในการปลูกสัก
การปลูกสักในเชิงธุรกิจ ควรเตรียมพื้นที่ปลูกโดยใช้เครื่องจักรกล เช่น ใช้รถแทร็กเตอร์ปรับที่และไถบุกเบิก 1 ครั้ง หากพื้นที่มีขนาดใหญ่ ควรแบ่งออกเป็นแปลงย่อย แปลงละประมาณ 50-100 ไร่ โดยปรับเป็นทางตรวจการรอบ ๆ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานและการดูแลรักษา
เมื่อเตรียมที่เสร็จแล้ว ปักหลักหมายปลูก โดยใช้ไม้ผ่าซึกขนาดความยาวประมาณ 0.50-1.00 เมตร ปักตามระยะที่กำหนดไว้ ระยะปลูกที่เหมาะสม หากสภาพพื้นที่ดีมากอาจปลูกระยะ 4x4 เมตร (100 ต้น ต่อไร่) สภาพดีปานกลาง ควรปลูกระยะ 3x3 เมตร (178 ต้น ต่อไร่) หรือ 2x4 เมตร (200 ต้น ต่อไร่) ส่วนในสภาพพื้นที่ไม่ค่อยดี ควรปลูกให้ถี่หน่อย คือ 2x2 เมตร (400 ต้น ต่อไร่)
รายได้และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการปลูกไม้สัก
ในการหาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการปลูกสร้างสวนป่าไม้สักนั้น ได้มีการศึกษาในพื้นที่ที่ต้นสักเจริญเติบโตดี โดยกำหนดรอบตัดฟันไว้ 15 ปี อัตราการเจริญเติบโต (เส้นผ่านศูนย์กลาง) 2.0-2.5 เซนติเมตร ต่อปี มีการตัดไม้บำรุงป่าในปีที่ 6 และตัดสางขยายระยะในปีที่ 11 ได้ปริมาณ 3 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ ปลูกระยะห่าง 2x4 เมตร จำนวน 200 ต้น ต่อไร่ (อายุ 1-5 ปี มีต้นไม้หลังการรอดตาย 180 ต้น ต่อไร่ อายุ 6-10 ปี มีต้นไม้ 90 ต้น ต่อไร่ และอายุ 11-15 ปี มีต้นไม้ 45 ต้น ต่อไร่) และผลผลิตเมื่อไม้มีอายุครบรอบตัดฟันจะมีปริมาณไม่ต่ำกว่า 12 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนในช่วงระยะเวลา 15 ปี คิดเป็นเงินรวม 6,000 บาท ต่อไร่ และเมื่อคิดอัตราส่วนลด หรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 15% ในระยะเวลา 15 ปี จะต้องเสียดอกเบี้ยรวม 22,000 บาทต่อไร่ เมื่อรวมกับต้นทุนดังกล่าวข้างต้น จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเมื่อครบเวลา 15 ปี เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 28,000 บาท ต่อไร่
วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
การเจริญเติบโตและผลผลิตแต่ละช่วงอายุของไม้สัก
ไม้สักจัดได้ว่าเป็นไม้โตเร็วชนิดหนึ่ง เมื่อเทียบกับไม้ชนิดอื่นอีกหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจริญเติบโตในช่วง 10 ปีแรก จะเร็วมาก อย่างไรก็ตาม ไม้สักจะโตเร็วมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ
- สภาพพื้นที่ปลูก รวมทั้งการเตรียมพื้นที่
- การจัดการสวนป่ารวมทั้งการบำรุงรักษา
- คุณภาพของเมล็ด หรือกล้าพันธุ์ที่ใช้ปลูก
การขยายพันธุ์ต้นสักด้วยวิธีการตอนกิ่ง
สถานีผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าแม่ทะ กรมป่าไม้ ได้พยายามศึกษาเทคนิคการปลูกต้นสักด้วยวิธีใหม่ คือ การขยายพันธุ์ต้นสักด้วยวิธีการตอนกิ่งไม้สัก โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อทดลองตอนกิ่งไม้สักจากต้นที่มีอายุมาก เนื่องจากยังไม่พบว่าผู้ใดสามารถตอนกิ่งไม้สักจากต้นที่มีอายุมากได้ และต้องการสร้างสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สัก และสวนผสมพันธุ์ไม้สักในกระถาง โดยใช้ขั้นตอนการตอนกิ่งไม้สัก ดังนี้
- กิ่งตอนที่ใช้กิ่งจากต้นที่มีอายุประมาณ 10 ปี
- ควั่นให้แผลยาว 10 นิ้ว
- ตอนเดือนพฤษภาคม น่าจะได้ผลดีกว่าเดือนอื่น ๆ
- วัสดุ ประกอบด้วย ดิน 2 กระป๋องนม ทราบหยาบ 1 กระป๋องนม โพลิเมอร์แห้ง 2 ช้อนชา (ไม่พูน) และปุ๋ยสูตร 15-15-15 2 ช้อนพูน ผสมให้เข้ากัน
- ทาฮอร์โมน Seradix เบอร์ 1 ที่รอยควั่นด้านบน แล้วพอกหุ้มแผลส่วนบนด้วยวัสดุตอนหุ้มไว้ประมาณ 6 นิ้ว หลังจากนั้นจะหุ้มด้วยกาบมะพร้าว (ที่แช่น้ำไว้ 3 เดือน) โดยเว้นรอบควั่นไว้ 4 นิ้วไม่ให้มีอะไรมาหุ้ม เพื่อไม่ให้แคคลัสมาเชื่อมกัน
- อายุกิ่งตอน 1.5-2 เดือน ให้ย้ายลงปลูก ราดด้วย Seradix เบอร์ 1 ที่ผสมน้ำ 2 ช้อนชา/น้ำ 1 บัวรดน้ำ (ประมาณ 15 ลิตร) เก็บรักษาไว้ในร่ม พรางแสงประมาณ 50% ใช้ฟูราดาน 3 จี รองพื้น รดน้ำเช้าเย็น
แหล่งจำหน่ายต้นกล้าไม้สักทอง
สำหรับการจำหน่ายกล้าไม้นั้น กรมป่าไม้ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาล ได้ผลิตกล้าไม้เพื่อการแจกจ่ายเท่านั้น ไม่มีการผลิตกล้าไม้ไว้สำหรับจำหน่ายแต่อย่างใด ถ้าต้องการจะซื้อต้นกล้าไม้สักสามารถติดต่อได้ตามหน่วยงานทางภาคเอกชนที่ผลิตกล้าไม้ขาย เช่น ตลาดไม้สวนจตุจักร หรือสหกรณ์สวนป่าภาคเอกชนของแต่ละจังหวัด และร้านขายต้นไม้ของภาคเอกชนตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งราคาขายของแต่ละที่จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดของกล้าไม้
การรื้อไม้สักเก่า ไปปลูกในที่ใหม่
มีกฎกติกาตามระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการนำไม้สักที่เคยอยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยอยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้มาแล้วกว่า 5 ปี ประสงค์จะเคลื่อนย้ายออกนอกเขตจังหวัด พ.ศ. 2542 มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
1. ผู้ใดประสงค์จะนำไม้สักที่เคยอยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยอยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้มาแล้วกว่า 5 ปี เคลื่อนย้ายออกนอกเขตจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสิ่้งปลูกสร้างหรือเป็นที่ประกอบเครื่องใช้นั้น ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
1.1 สำหรับท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานป้องกันและปราบปราม กรมป่าไม้
1.2 สำหรับท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่ซึ่งเป็นที่ตั้งปลูกสร้างหรือเป็นที่ประกอบเครื่องใช้นั้น
2. ไม้สักที่จะอนุญาตให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตจังหวัดได้ตามระเบียบนี้ จะต้องมีลักษณะและสถานภาพดังต่อไปนี้
2.1 ต้องเป็นไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้มาแล้วกว่า 5 ปี ซึ่งในขณะที่ยื่นขอต้องยังไม่ได้ทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือเครื่องใช้ก่อนได้รับอนุญาตตามระเบียบ
2.2 ต้องมิใช่ไม้ที่อยู่ในสภาพพรางว่าเป็นสิ่งที่ปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างอันไม่ชอบด้วยลักษณะสิ่งปลูกสร้างทั่ว ๆ ไปหรือที่ผิดปกติวิสัย หรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ที่ไม่ชอบด้วยลักษณะของเครื่องใช้ที่เป็นปกติในท้องที่นั้น หรือผิดปกติวิสัย
2.3 ต้องเป็นไม้ที่พ้นสภาพการเป็นไม้แปรรูป ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 4
2.4 ในกรณีเป็นสิ่งปลูกสร้างจะต้องปลูกสร้างในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองหรือสิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย
3. หลักฐานที่ใช้ประกอบคำขอ
3.1 สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอรื้อถอน
3.2 แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งสิ่งปลูกสร้างที่ขออนุญาตรื้อถอน
3.3 หนังสือรับรองว่าได้ปลูกในท้องที่นั้นมานานแล้วกว่า 5 ปี จากสภาตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งท้องที่ แล้วแต่กรณี
3.4 หลักฐานการได้มาของไม้นั้น (ถ้ามี)
3.5 รูปถ่ายสิ่งปลูกสร้างหรือเครื่องใช้ที่ขอรื้อถอนทุกด้าน
3.6 หลักฐานแสดงการมีสิทธิ์ใช้ที่ดินจะนำไม้สักไปใช้ประโยชน์ พร้อมแผนที่สังเขปแสดงที่ถูกต้องของที่ดินนั้น
3.7 อื่น ๆ
4. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอและเห็นว่าถูกต้อง จะดำเนินการ ดังนี้
4.1 สำหรับท้องที่กรุงเทพมหานครจะเสนอคำขอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการในทำนองเดียวกัน
4.2 สำหรับท้องที่จังหวัดอื่นจะเสนอคำขอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการในทำนองเดียวกัน
5. เมื่อคณะกรรมการได้ตรวจสอบหลักฐานเอกสาร และลักษณะสิ่งปลูกสร้างหรือเครื่องใช้ที่ขอรื้อถอนแล้ว มีความเห็นสมควรให้ผู้ขอทำการเคลื่อนย้ายสิ่งปลูกสร้างหรือเครื่องใช้ได้ อธิบดีกรมป่าไม้หรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณี จึงจะสั่งให้ทำการรื้อถอน แล้วแจ้งให้ผู้ขอทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือเครื่องใช้นั้นได้
6. เมื่อคณะกรรมการได้รับแจ้งจากผู้ขอว่าได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือเครื่องใช้แล้วจะทำการตรวจไม้ที่รื้อถอนนั้น แล้วจัดทำบัญชีรายการแสดงชนิด จำนวน ปริมาตร พร้อมประทับตราประจำตัวไว้ที่ไม้ แล้วจะดำเนินการเสนออธิบดีกรมป่าไม้หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี เพื่อออกใบอนุญาตให้เคลื่อนย้ายต่อไป
7. เมื่อผู้รับอนุญาตได้นำไปถึงสถานที่ที่กำหนดในใบอนุญาต ผู้รับอนุญาตต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี สำหรับในท้องที่กรุงเทพมหานครให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปราม กรมป่าไม้
8. สำหรับอัตราค่าธรรมเนียมตามระเบียบมิได้กำหนดไว้แต่อย่างใด
กฎหมายที่น่ารู้เกี่ยวกับการตั้งโรงงานแปรรูปไม้สัก
กรณีที่ท่านต้องการยื่นคำขออนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยใช้เครื่องจักรเพื่อประดิษฐกรรม ทำเครื่องเรือนเครื่องใช้ในบ้านเรือน โดยใช้ไม้จากสวนป่าเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานได้ ติดต่อได้ที่อำเภอท้องที่ที่จะตั้งโรงงาน หรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากฝ่ายส่งเสริมและพัฒนา สำนักงานป่าไม้จังหวัด หรือฝ่ายอนุญาตอุตสาหกรรมไม้ กองการอนุญาต กรมป่าไม้
ปัจจุบัน พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 อนุญาตให้ประชาชนปลูกไม้สัก และนำไปใช้ประโยชน์ได้ จากตารางสถิติการขายและราคาไม้ซุงสักขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พ.ศ. 2533 ระบุว่าราคาไม้สักต่อลูกบาศก์เมตรละ 8,477 บาท ส่วนราคาไม้สักที่มีคุณภาพ เช่น สักทองคงจะมีราคาสูงกว่านี้ และราคานี้ก็คงจะสูงขึ้นไปอีกเมื่อเวลาผ่านไป
วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
กฎหมายที่น่ารู้เกี่ยวกับกิจการ ไม้สัก...ไม้หวงห้าม
เจ้าของที่ดินที่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายจะตัดไม้ในที่ดินของตนเองได้ทุกชนิดโดยไม่ต้องขออนุญาต ยกเว้น ไม้สัก ไม้ยาง เพียง 2 ชนิด เท่านั้นที่ต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน เพราะตามพระราชบัญญัติป่าไม้ มาตรา 7 ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. กล่าวคือ ไม้สักและไม้ยางไม่ว่าขึ้นที่ใดทั่วประเทศไทย เป็นไม้หวงห้ามต้องขออนุญาตก่อน โดยที่ดินที่จะสามารถยื่นขอใบอนุญาตได้ต้องเป็นที่ดินตามกฎหมายที่ดิน ที่มีใบเอกสารที่ดินเป็น น.ส. 3, น.ส. 3 ก, น.ส. 3 ข. เท่านั้น ส่วนไม้ชนิดอื่นที่มีชื่ออยู่ในบัญชีไม้หวงห้ามเฉพาะไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าเท่านั้น ถ้าขึ้นอยู่ในที่ดินที่บุคคลมีกรรมสิทธิื หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมไม่เป็นไม้หวงห้าม การตัดฟันไม้ (ที่มิใช่ไม้สัก ไม้ยาง) ในที่ดินของตนเองจึงไม่ต้องอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด
กระทรวงมหาดไทยและกรมป่าไม้ ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้มีการตรวจสอบออกหนังสือรับรองไม้ที่มิใช่ไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่เดิมในที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เคลื่อนย้ายไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ให้ตรวจสอบออกหนังสือรับรองโดยเฉพาะกรณีที่นำเคลื่อนย้ายไปใช้ประโยชน์ เพื่อการใช้สอยส่วนตัวหรือเพื่อการกุศลสาธารณประโยชน์เท่านั้น ส่วนการนำเคลื่อนย้ายไปเพื่อการค้าจะไม่ตรวจสอบออกหนังสือรับรองให้ เพราะที่ดินที่มีโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายย่อมจะมีไม้อยู่น้อยไม่เพียงพอที่จะทำเพื่อการค้าได้อยู่แล้ว และการตรวจสอบออกหนังสือรับรองให้เฉพาะไม้ท่อนเท่านั้น ส่วนไม้แปรรูปจะไม่ตรวจสอบออกหนังสือรับรองให้ เพราะยากแก่การควบคุมและจะเป็นช่องทางให้มีการทุจริตเกิดขึ้นได้
การจำหน่ายไม้สวนป่า
สำหรับสวนป่าสักที่ขึ้นทะเบียนสวนป่ากับกรมป่าไม้เรียบร้อยแล้วและประสงค์ที่จะตัดไม้ในสวนป่าเพื่อนำไปจำหน่าย จะต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ก่อน ดังนี้
- ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนตรา ตามแบบ สป.7 ณ อำเภอท้องที่ที่ออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนสวนป่า (สป.3)
- ให้ผู้ทำสวนป่าแจ้งการตัดหรือโค่นไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่าตามแบบ สป.12 ณ อำเภอท้องที่
- เมื่อผู้ทำสวนป่าแจ้งตามข้อ 2. แล้ว ให้ดำเนินการตัดหรือโค่นไม้ที่แจ้งได้ และจะมีเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบไม้ว่ามีชนิดและจำนวนไม่ถูกต้องตามที่ได้แจ้งไว้หรือไม่ ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่จะพิจารณาออกหนังสือรับรองการแจ้งตัดหรือโค่นไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่าตามแบบ สป.13 ให้แก่ผู้ทำสวนป่า
- เมื่อผู้ทำสวนป่าจะนำไม้ท่อน ไม้แปรรูป หรือสิ่งประดิษฐ์จำนวนใดเคลื่อนที่ออกจากสวนป่าให้ผู้ทำสวนป่าออกหนังสือแสดงบัญชีรายการไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า ตามแบบ สป.15 (จังหวัดท้องที่สวนป่าตั้งอยู่ได้ลงทะเบียนเล่มที่ของหนังสือแสดงบัญชีรายการไม้แล้ว) กำกับไม้ท่อน ไม่แปรรูปหรือสิ่งประดิษฐ์ ที่จะนำเคลื่อนที่ และต้องมีรอยตราตี ตอกประทับแสดงการเป็นเจ้าของ ตลอดจนต้องมีสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการเจ้ง สป.13 ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับรองถูกต้องกำกับไปด้วยตลอดเวลาที่นำเคลื่อนที่ รายละเอียดให้ติดต่อป่าไม้อำเภอหรือป่าไม้จังหวัดท้องที่
การจัดการสวนไม้สักทอง
ไม้สักทองสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ตามอายุและขนาดของไม้ที่ตัดออกมาจำหน่าย ตั้งแต่ไม้ซุงเพื่อแปรรูปใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ ปาร์เก้ แกะสลัก ฯลฯ แต่การนำไปใช้ประโยชน์จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวิธีการจัดสวนป่าอย่างถูกต้องและเหมาะสม ขอแนะนำวิธีการจัดการสวนไม้สักทอง เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังนี้
- ไม้ซุงเพื่อใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน การปลูกสร้างสวนไม้สักทองที่มีวัตถุประสงค์จะนำไม้มาใช้ในลักษณะของไม้ซุง หรือแปรรูปเพื่อใช้ในการก่อสร้างควรกำหนดระยะเวลาที่จะนำมาใช้ประโยชน์ 20-30 ปี ใช้ระยะปลูกไม่น้อยกว่า 4x4 เมตร เพื่อที่จะไม่ต้องตัดสางขยายระยะต้นไม้ออกในระยะแรกเพราะจะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูงขึ้น โดยไม่คุ้มค่ากับการลงทุน การปลูกสร้างสวนสักทองโดยวัตถุประสงค์นี้ หวังผลตอบแทนในระยะยาว ผู้ลงทุนจึงควรวางแผนอย่างรอบคอบก่อนที่จะดำเนินการเช่น ต้องมีเงินลงทุนเพียงพอตลอดโครงการ การปลูกสร้างสวนสักทองเพื่อผลิตไม้ซุงจะไม่มีปัญหาเรื่องตลาดประการใด ทั้งนี้เพราะในปัจจุบันและอนาคตรัฐบาลไม่อนุญาตให้นำไม้สักจากป่าธรรมชาติออกมาใช้ประโยชน์อีกต่อไป ความต้องการใช้ไม้สักทองจึงมีมาก และราคานับวันจะสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ
- ไม้บาง การปลูกสร้างสวนสักทอง เพื่อใช้ประโยชน์ไม้ในลักษณะของไม้บาง ควรกำหนดรอบตัดฟันประมาณ 15-20 ปี ระยะปลูก 3x3 เมตร หรือ 4x4 เมตร ไม้สักทองที่นำไปใช้ประโยชน์ จะต้องมีลักษณะเปลาตรงไม่มีตำหนิจากปุ่มตาและกิ่ง ดังนั้น จำเป็นต้องจัดการสวนสักทองอย่างประณีต เช่นควรทำการลิดกิ่ง และตัดสางขยายระยะในเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากการปลูกสร้างสวนสักทองมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไม้ส่งขายให้แก่โรงงานทำไม้บาง ดังนั้น การเลือกพื้นที่ปลูกไม่ควรอยู่ไกลจากโรงงานมากนัก เพราะจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งสุง ระยะทางจากสวนป่าถึงโรงงานควรอยู่ระหว่าง 100-250 กิโลเมตร
- บ้านไม้ซุง เฟอร์นิเจอร์ และปาร์เก้ การใช้ประโยชน์ไม้สักทอง เพื่อใช้ทำบ้านไม้ซุง เฟอร์นิเจอร์และปาร์เก้นี้ มุ่งที่จะสนับสนุนให้นำไม้สักทองจากการตัดสางขยายระยะในสวนป่า มาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และทำให้สามารถจำหน่ายไม้สักทองตัดสางขยายระยะจากสวนป่าได้ราคาสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะไม้สักทองที่ตัดสางขยายระยะจากสวนป่าอายุเกิน 10 ปี มีลักษณะกลมเปลาตรงและมีขนาดเหมาะสมที่จะนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ บ้านไม้ซุง หรือปาร์เก้ได้อย่างสวยงาม แต่ในปัจจุบัน การใช้ประโยชน์ไม้สักทองตัดสางขยายระยะในสวนป่าของกรมป่าไม้และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ยังจำหน่ายได้ราคาถูกมาก และยังไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์ให้กว้างขวางและไม่มีตลาดรองรับที่แน่นอนจึงเป็่นการใช้ประโยชน์ไม้จากการตัดสางขยายระยะที่ไม่คุ้มค่าและเป็นการสูญเปล่าที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง
- ไม้ขนาดเล็ก การจัดการสวนสักทองเพื่อนำไม้มาใช้ประโยชน์หลายอย่างในพื้นที่เดียวกันเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนในระยะสั้นเพียง 5 ปี ก็นำไม้มาใช้ประโยชน์ทำไม้เสาขนาดเล็กได้แล้ว โดยกำหนดระยะปลูกให้ถี่ขึ้น เช่น 2x2 เมตร และตัดสางต้นเว้นต้นออกมาใช้ประโยชน์ครั้งแรกในปีที่ 5 ไม้ที่เหลือจะมีระยะห่าง 4x4 เมตร ก็สามารถจัดการเพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ต่อไป การจัดการสวนสักทองเพื่อใช้ไม้ขนาดเล็กนี้ ถ้าในตลาดท้องถิ่นไม่มีความต้องการก็ไม่มีความจำเป็นต้องปลูกถี่ เพราะจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูงขึ้นโดยได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่า
หลักการจัดการสวนป่าเชิงธุรกิจ
สวนป่าเชิงธุรกิจ หมายถึง สวนป่าที่ดำเนินการอย่างประณีต เพื่อให้ต้นไม้โตเร็ว ได้ผลตอบแทนตามวัตถุประสงค์ภายในเวลาที่กำหนดไว้ การจัดการสวนป่าเชิงธุรกิจที่ดี จะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญ 5 ประการ คือ วัตถุประสงค์ พื้นที่ ชนิดไม้ วิธีการ และการตลาด
1. วัตถุประสงค์
ก่อนที่จะทำการปลูกสร้างสวนป่า ผู้ดำเนินการจะต้องกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ก่อนเป็นอันดันแรกว่าจะปลูกเพื่ออะไร ทั้งนี้ การกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ให้แน่นอนนั้นจะมีผลต่อการพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สัมพันธ์กันอย่างถูกต้องและเหมาะสมด้วย การปลูกสร้างสวนป่าที่ไม่ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ตั้งแต่แรก ย่อมทำให้ผู้ดำเนินการปฎิบัติงานด้วยความลำบากเกิดความสับสน และจะไม่สามารถดำเนินการให้ประสบผลสำเร็จได้
2. พื้นที่
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับต่อไป คือ พื้นที่หรือที่ดินที่จะใช้ทำการปลูกสร้างสวนป่า ซึ่งมีหลักในการพิจารณาที่สำคัญ 3 ประการ คือ กรรมสิทธิ์ ปริมาณ และคุณภาพ ผู้ดำเนินการจะต้องมีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของตัวเอง หรือเช่าที่ดินของรัฐ เพื่อให้มีสิทธิ และเกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานและการจัดการสวนป่าในโอกาสต่อไป ที่ดินจะต้องมีพื้นที่มากพอที่จะสามารถจัดการสวนป่าให้มีผลิตผลเพียงพอกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่องและครบวงจร รวมั้งต้องคำนึงถึงคุณภาพของดินว่ามีความเหมาะสมกับชนิดไม้ที่จะปลูกหรือไม่
3. ชนิดไม้
ในการปลูกสร้างสวนป่าเชิงธุรกิจ มีหลักในการพิจารณาชนิดไม้อยู่ 2 ประการ คือ
1. จำนวนชนิดไม้ ควรปลูกเพียงชนิดเดียว สำหรับการปลูกสร้างสวนป่า เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์แต่ละอย่าง
2. ปริมาณ หมายถึง เนื้อที่ที่ปลูกไม้แต่ละชนิด ต้องมีปริมาณมากพอตามหลักการที่ว่า "ปริมาณสำคัญกว่าคุณภาพ" การปลูกต้นไม้เพียงชนิดเดียว แต่ให้มีจำนวนมากเพียงพอกับความต้องการ จะสามารถตั้งโรงงานรองรับให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของชนิดไม้ได้ แต่ในทางตรงข้าม ถ้าหากปลูกต้นไม้หลายชนิดรวมกัน และมีจำนวนแต่ละชนิดน้อย ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการใช้ประโยชน์ไม้ก็ไม่อาจจะตั้งโรงงานอุตสาหกรรมรองรับได้
4. วิธีการ
ในเรื่องของการปลูกสร้างสวนป่าเชิงธุรกิจ ได้แก่ การปลูกและการบำรุง ซึ่งหมายถึง การปลูกสร้างสวนป่าทั้งระบบทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ปลูก ปลูกซ่อมและการบำรุงรักษา ได้แก่ การกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การป้องกันไฟป่า และอื่น ๆ
การจัดการ เป็นวิธีดำเนินการที่จะช่วยให้ต้นไม้ที่ปลูกเจริญเติบโตและสามารถใช้ประโยชน์ได้ตามที่กำหนด เช่น การลิดกิ่ง การตัดสางขยายระยะ การกำหนดระยะปลูกให้เหมาะสมกับชนิดไม้ วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อหน่วยสูงสุด การกำหนดเวลาและวิธีการตัดไม้ออกมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งการจัดการหน่อที่แตกใหม่เพื่อให้ผลผลิตในรอบต่อไปด้วย
5. ตลาด
การปลูกสร้างสวนป่าเชิงธุรกิจ มีความจำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างประณีต เพื่อให้ได้ต้นไม้โตเร็ว ขายได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ ตลาดเป็นปัจจัยที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยอื่น ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว การกำหนดวัตถุประสงค์ในการปลูกสร้างสวนป่าเพื่ออุตสาหกรรมประเภทใดนั้น ต้องพิจารณาให้แน่นอนก่อนตั้งแต่เริ่มดำเนินการว่ามีตลาดรองรับหรือไม่ อยู่ใกล้หรือไกลเกินไปหรือไม่ สะดวกในการขนส่งไม้จากสวนป่าไปจำหน่ายได้โดยง่ายหรือไม่ อย่างไร
เทคนิคการล้มและตัดทอนไม้สักทอง
ไม้สักทอง เป็นไม้ดีมีคุณภาพ และราคาแพง วัตถุประสงค์ของผู้ปลูกคือต้องการต้นไม้ที่มีลำต้นโตเปลาตรง และเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม จึงพยายามหาวิธีการปลูกและบำรุงรักษาอย่างประณีต เพื่อให้ไม้สักทองโตเร็ว รูปทรงของลำต้นเปลาตรง สวยงาม ตามความต้องการ วิธีการล้มและตัดทอนไม้สักทองเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากสำหรับการจัดสวนไม้สักทอง ผู้ปลูกไม้สักทองควรทราบเพื่อนำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง เมื่อถึงเวลาตัดไม้สักทองในสวนป่าที่ปลูกไว้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ให้ได้ไม้สักทองที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงต่อไป
การเตรียมการล้มไม้
การล้มไม้ เป็นงานที่มีอันตรายมากที่สุดในการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องการคนงานที่มีความชำนาญและต้องการวางแผนการทำงานอย่างรอบคอบ การล้มไม้เป็นหมู่ควรจะต้องำหนดระยะห่างของคนงานที่เข้าล้มไม้ไว้ให้มากพอสมควรเพื่อไม่ให้ต้นไม่ล้มลงมาทับพนักงานล้มไม้คนอื่น ๆ โดยคำนวณระยะทางล้มของต้นไม้จากความยาวของต้นไม้ 2 ต้น สำหรับในป่าที่ไม่สามารถเห็นต้นไม้ได้ชัดเจนควรกำหนดระยะทางเผื่อไว้เท่ากับความยาวของต้นไม้ 4 ต้น
การกำหนดทิศทางของต้นไม้ที่จะล้ม ควรตัดสินใจอย่างรอบคอบ ซึ่งขึ้นอยู่กับทิศทางที่จะบังคับให้ต้นไม้ล้มหรือการใช้ลิ่ม การเอนของต้นไม้ ลม สิ่งกีดขวางทางล้มของต้นไม้และสิ่งกีดขวางบนพื้นดิน นอกจากนั้นควรมองหาทางหลบภัยในขณะที่ไม้ล้มไว้ด้วย เมื่อได้กำหนดทิศทางล้มของต้นไม้ไว้แล้ว เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ควรวางไว้ในด้านตรงข้ามกับทิศทางที่ต้นไม้ล้มข้างหลังต้นไม้ ทำการแผ้วถางพื้นที่รอบ ๆ ต้นไม้ที่จะทำการโค่นให้เตียน ถางทางหลบภัยขณะทีต้นไมัล้มลงให้เตียนไว้ 2 ทางและไกลพอที่คิดว่าปลอดภัย และทางวิ่งหลบภัยทั้งสองด้านนี้ ควรทำมุมทางด้านข้างกับแนวด้านหลังของต้นไม้ 45 องศา รอบ ๆ โคนต้นไม้ทีทำการโค่นล้ม ควรใช้มีดหรือขวานถากเปลือกตามแนวรอบ ๆ บริเวณที่จะตัดให้เรียบก่อนเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โซ่เลื่อยทื่อเร็วเกินไป
การล้มไม้ขนาดเล็ก
ไม้ขนาดเล็ก เช่น ไม้ตัดสางขยายระยะ โดยปกติจะใช้พนักงานเลื่อยยนต์เข้าดำเนินการเพียงคนเดียว ส่วนการลิดกิ่งหรือตัดทอนกิ่งไม้นั้นจะใช้ขวานโดยใช้คนงานเป็นหมู่ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป การตัดทอนกิ่งไม้นี้ถ้าคนงานรู้จักวิธีใช้เลื่อยยนต์แล้ว จะได้เปรียบกว่าการใช้ขวานมาก
ต้นไม้ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่โคนต้นประมาณ 60 เซนติเมตร และมีรูปทรงปกติ จะสามารถบังคับให้ต้นไม้ล้มไปในทิศทางที่ต้องการได้ง่าย หลังจากที่พนักงานล้มไม้ได้กำหนดทิศทางการล้มไม้ของต้นไม้แล้ว และถางวัชพืชบริเวณโคนต้น และทำทางหลบภัยในขณะไม้ล้มไว้แล้ว ก็ใช้เลื่อยยนต์ทำบากหน้าก่อน การบากหน้าควรบากให้ลึกเข้าไปในเนื้อไม้ประมาณ 1/5-1/4 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นไม้ และพยายามบากหน้าให้ชิดดิน เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ให้มากที่สุด นอกจากนั้น การตัดไม้ที่เหลือตอไว้สูง อาจจะทำให้ไม่สะดวกในการปฏิบัติงานในภายหลังได้เหมือนกัน การบากหน้า ควรทำมุมประมาณ 45 องศา
การทำบากหน้า ควรใช้เลื่อยยนต์ตัดเป็นแนวเฉียง 45 องศาก่อน แล้วจึงตัดตามแนวนอน โดยพยายามให้แนวนอนพบกับแนวเฉียงเป็นเส้นตรง การทำบากหน้า ควรให้หันหน้าไปตามทิศทางการล้มของต้นไม้ เป็นมุม 90 องศา การบากหน้ามีความสำคัญสำหรับการล้มไม้มาก ถ้าเราทำบากหน้าไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ทิศทางการล้มของต้นไม้อาจไม่เป็นไปตามทิศทางที่ต้องการ
การทำลัดหลังจะต้องพยายามให้อยู่ในแนวนอน และแนวอยู่สูงกว่าแนวของบากหน้า ประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ถ้าต้นไม้ที่ทำการล้มมีขนาดเล็กกว่าใบเลื่อย การลัดหลังสามารถทำได้ง่าย โดยการใช้เลื่อยยนต์ลัดหลังเพียงครั้งเดียวและด้านเดียว แต่ถ้าต้นไม่มีขนาดใหญ่กว่า การลัดหลังจะต้องใช้เลื่อยยนต์ตัดหลายครั้งและหลายด้าน
การล้มไม้ขนาดใหญ่
ต้นไม้ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวมากกว่า 2 เท่าของความยาวของใบเลื่อย การบากหน้าจะต้องทำจาก 2 ด้านและเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นไม้หนีบใบเลื่อยจะต้องบากหน้าตามแนวนอนก่อน แล้วจึงบากหน้าตามแนวเฉียงลงมาตัดกับแนวนอน ต่อไปใช้ปลายใบเลื่อยตัดเนื้อไม้เข้าไปให้ถึงศูนย์กลางของลำต้น โดยตัดเข้าไปทางด้านของบากหน้า ระดับเดียวกับแนวนอนของบากหน้า โดยให้มีแกนกลางเหลืออยู่ทั้ง 2 ด้านของต้นไม้หนาอย่างน้อย 5 เซนติเมตร แล้วจึงทำการลัดหลัง การลัดหลังจะต้องอยู่ในระดับความสูงกว่าแนวนอนของบากหน้า ไม่น้อยกว่า 10-20 เซนติเมตร สำหรับต้นไม้ที่มีพูพอนขนาดเล็กไม่ควรตัดถึงปีที่ พูพอนออกก่อน เพราะจะมีความปลอดภัยมากกว่า ถ้าเราปล่อยพูพอนไว้เช่นนั้น ถ้ามีความต้องการที่จะต้องตัดพูพอนออก เพื่อความสะดวกในการขนย้าย ก็สามารถทำได้สะดวกกว่าเมื่อได้โค่นไม้ล้มลงแล้ว แต่ถ้าใบเลื่อยสั้นเกินไปที่จะทำการโค่นล้มไม้ การตัดพูพอนออกก่อนในกรณีนี้จะช่วยทำให้การล้มไม้ง่ายขึ้น
การล้มไม้เอน
ถ้าต้นไม้ที่จะทำการล้ม เอนทิ้งน้ำหนักของลำต้นไปทางเดียวกันกับที่จะทำการล้ม เทคนิคที่จะช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการแตกร้าวของเนื้อไม้และเลื่อยยนต์ถูกไม้หนีบ มีดังต่อไปนี้
สำหรับไม้ขนาดเล็ก หลังจากทำการบากหน้าแล้ว การลัดหลังจะต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยทำลัดหลังทางด้านข้างทั้ง 2 ด้านเสียก่อน แล้วจึงทำการลัดหลังส่วนที่เหลือภายหลัง
สำหรับไม้ขนาดใหญ่ การทำบากหน้าต้องไม่ลึกมากกว่า 1/4 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นไม้ มิฉะนั้นใบเลื่อยจะถูกไม้หนีบได้ แล้วทำการลัดหลังจะต้องใช้ปลายใบเลื่อยตัดเจาะเข้าไปทางด้านข้างของลำต้นด้านหนึ่งก่อน ถ้าเป็นไม้ขนาดใหญ่ จะต้องใช้ปลายใบเลื่อยตัดเจาะเข้าไปทางด้านข้างอีกด้านหนึ่งด้วย เนื้อไม้ส่วนที่เหลือ ให้ใช้เลื่อยยนต์ตัดเป็นมุมทแยงลงมายังแนวที่ทำลัดหลังไว้ก่อนแล้ว
การล้มไม้ที่เอนประมาณ 30 องศา สามารถทำได้โดยทำบากหน้าให้หันไปตามทิศทางที่จะให้ไม้ล้มมุมของบากหน้าทางด้านที่ไม้เอนจะต้องเล็กกว่ามุมของบากหน้าทางด้านของทิศทางที่ไม้ล้ม และใช้ลิ่มใส่ทางด้านที่ไม้เอน เพื่อตอกช่วยบังคับทิศทางการล้มของไม้ด้วย
การทอนไม้
การล้มไม้ การลิดกิ่ง และการทอนไม้ ควรทำโดยพนักงานชุดเดียวกัน ให้ต่อเนื่องกันไป และให้เสร็จเรียบร้อยเป็นต้น ๆ ไป ในระหว่างทำการทอนไม้หรือลิดกิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่ พนักงานเลื่อยยนต์ควรจะต้องระมัดระวังและสังเกตดูว่าใบเลื่อยจะถูกไม้หนีบหรือไม่ หรือไม่ซุงที่กำลังตัดทอนอยู่นั้น เมื่อตัดขาดแล้วจะกลิ้งมาทับพนักงานได้หรือไม่ ขณะปฏิบัติงานพนักงานเลื่อยยนต์ควรจะเลือกยืนทางด้านที่ปลอดภัยเสมอ โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งเป็นภูเขา
สำหรับไม้ขนาดเล็ก พนักงานเลื่อยยนต์ไม่จำเป็นต้องมีผู้ช่วย การทอนไม้ขนาดเล็กบางครั้งสามารถใช้เลื่อยยนต์ทอนไม้ขาดได้ทีเดียว โดยไม่ต้องยกเลื่อยยนต์หลายครั้งและใช้ลิ่มเพียงอันเดียวก็เป็นการเพียงพอ สำหรับป้องกันไม่ให้ใบเลื่อยถูกไม้หนีบ แต่ไม้ขนาดใหญ่มีความจำเป็นต้องมีผู้ช่วยคอยให้ความช่วยเหลือ ในการหายไม้ที่จะตัดทอนร่วมกับพนักงานเลื่อยยนต์ และลูกมือจะต้องแผ้วถางบริเวณที่จะปฏิบัติงานให้เตียน เพื่อความสะดวกในการทำงาน ขณะปฎิบัติงานผู้ช่วยต้องคอยดูอย่างใกล้ชิดและใช้ลิ่มช่วย หรือใช้เลื่อยยนต์แทน เมื่อพนักงานเลื่อยยนต์เหนื่อย
กรณีที่ไม้มีขนาดใหญ่เกินกว่าใบเลื่อย การทอนไม้จำเป็นต้องทำหลาย ๆ ด้าน ซึ่งต้องมีการเคลื่อนย้ายเลื่อยยนต์หลายครั้ง โดยวิธีการตัดทอนดังกล่าวนี้สามารถตัดทอนไม้ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางโตกว่า 2 เท่าของความยาวใบเลื่อย การใช้ลิ่มมีความจำเป็นมาก เพื่อป้องกันไม่ให้ไม้หนีบใบเลื่อย สำหรับไม้ที่มีขนาดใหญ่มาก อาจจะตัองใช้ลิ่ม 2 อัน เพื่อป้องกันไม่ให้ไม้บิดจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ไม้หนีบใบเลื่อยก่อนที่การทอนไม้จะเสร็จสิ้นลง เมื่อพิจารณาเห็นว่าไม้เริ่มจะหนีบใบเลื่อย ให้รีบใส่ลิ่มเสียก่อนเมื่อตัดไม้เข้าไปลึกพอควร
การหมายไม้
การหมายไม้ หมายถึง การกำหนดความยาวของต้นไม้ที่ล้มเพื่อตัดทำเป็นซุงให้ได้คุณภาพดีที่สุดไม้ต้นหนึ่งอาจหมายตัดทอนเป็นซุงได้หลายท่อน การหมายไม้ซุงที่ทำออกจากสวนสักนั้นจะต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ ต้องรอบรู้ถึงความต้องการของตลาด รวมทั้งจะต้องรู้ถึงสภาพของทางที่จะขนส่งไม้และยานพาหนะที่จะใช้ขนส่งไม้นั้น เพื่อจะได้หมายไม้เป็นท่อนซุงได้ถูกต้องตามความประสงค์
อย่างไรก็ดี การหมายไม้ที่ถูกต้องควรยึดหลักในการหมายไม้แต่ละท่อนว่า ให้ได้เนื้อไม้มากที่สุดให้ได้ซุงที่มีคุณภาพดีที่สุด และไม่ทิ้งส่วนของเนื้อไม้ที่ดีพอใช้ประโยชน์ได้ไว้ในป่า เนื่องจากไม้สักเป็นไม้ที่มีค่าและมีราคาแพง ฉะนั้นการหมายไม้สักจึงต้องทำกันอย่างละเอียดพิถีพิถัน ไม้ซุงสักที่มีคุณภาพดีมีความยาวมากจะได้ราคาดีไปด้วย ในตลาดไม้แปรรูปเมืองไทย ไม้ยาวมีราคาแพงกว่าไม้สั้น ฉะนั้นการพยายามให้ไม้ซุงที่หมายมีความยาวมากขึ้นเท่าใด ย่อมทำให้ได้ราคาขายดีขึ้นเท่านั้น
การปลูกสวนสักระบบวนเกษตร
คือ การใช้ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการนำพืชเกษตรมาปลูกควบคู่กับการปลูกไม้สัก ซึ่งเป็นการเสริมรายได้ให้แก่ผู้ลงทุนในระยะแรกที่ยังไม่สามารถนำไม้สักที่ปลูกมาใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดศัตรูพืชในสวนสักอีกด้วย ต้นสักที่ปลูกในระบบวนเกษตรนี้จะเจริญเติบโตดีกว่าการปลูกสักเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะต้นสักจะได้รับการบำรุงรักษาอย่างดีเช่นเดียวกับพืชเกษตรที่ปลูกควบคู่กันด้วย สามารถปลูกสวนผักพืชเกษตรควบคู่ในระหว่างแถวต้นสักได้อย่างน้อย 2 ปี
การดูแลรักษาไม้สักทอง
การใส่ปุ๋ย
การปลูกไม้สักทองเชิงธุรกิจ การใส่ปุ๋ยเพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตให้ต้นไม้ในระยะแรก นับว่ามีความจำเป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่มีสภาพดินเลว ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15,22-11-11-หรือ 18-12-6 ให้แก่ต้นไม้ปีละ 2 ครั้ง ปีแรกใส่ครั้งละ 25 กรัม/ต้น ปีที่ 2 ใส่ครั้งละ 50 กรัม/ต้น ปีที่3 ใส่ครั้งละ 75 กรัม/ต้น ปีที่ 4-5 ใส่ครั้งละ 100 กรัม/ต้น
สำหรับปีต่อ ๆ ไป ควรใส่ปุ๋ยเฉพาะต้นสักที่มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยเร่งให้เจริญเติบโตทันเท่าต้นอื่นเท่านั้น ในบางสภาวะถ้าสามารถใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมก่อนปลูกหลุมละ 1 กิโลกรัม จะช่วยให้ต้นสักทองเจริญเติมโตได้ดีขึ้นมาก อัตราการใส่ปุ๋ยมากกว่านี้ โดยเฉพาะพื้นที่แห้งแล้วดินทราย จะต้องใส่ปุ๋ยมากกว่าอัตราที่กำหนดไว้อย่างน้อย 2 เท่า ตามคำแนะนำ
การลิดกิ่ง
การปลูกไม้สักทอง มีวัตถุประสงคืช์เพื่อต้องการไม้ที่มีคุณภาพดี เปลาตรง และปราศจากตำหนิจากปุ่มตา เมื่่อเวลาตัดไม้ขายจะได้ราคาแพง จึงจำเป็นต้องทำการลิดกิ่ง โดยเริ่มลิดกิ่งต้นสักในปีที่ 2 สำหรับปีแรก ควรทำเฉพาะตัดต้นสักที่ขึ้นแซมออก โดยคัดเลือกให้เหลือต้นที่แข็งแรงและลักษณะดีไว้เพียง 1 ต้นเท่านั้น
วิธีการลิดกิ่งที่ถูกต้อง จะต้องใช้กรรไกรหรือเลื่อยตัดกิ่งให้เรียบชิดขนานกับลำต้น ไม้ให้เหลือส่วนของโคนกิ่งไว้บนลำต้น และการตัดจะต้องไม่ทำให้เปลือกฉีกขาดและลำต้นได้รับอันตราย การลิดกิ่งและละครั้งควรเหลือเรือนยอดที่เป็นกิ่งสดไว้พอเพียงกับการเจริญเติบโตของต้นไม้นั้น โดยปกติจะลิดกิ่งแต่ละครั้งเพียง 1/3 เท่านั้น การลิดกิ่งทำปีละครั้งในฤดูแล้ง ซึ่งเป็นระยะที่ต้นไม้หยุดการเจริญเติบโต
สำหรับความสูงที่ต้องการลิดกิ่ง ขึ้นอยุ่กับลักษณะรูปทรงของต้นไม้ ความต้องการและวัตถุประสงค์ของผู้ปลูกว่าต้องการไม้ซุงที่มีลักษณะดียาวเท่าไร อย่างไรก็ตาม ควรทำการลิดกิ่งสูงจากพื้นดินอย่างน้อย 6 เมตร และใช้ปูนขาวผสมน้ำทาตรงบริเวณรอยที่ตัดแต่งกิ่งออก เพื่อป้องกันเชื้อราเข้าทำอันตรายต้นสักในภายหลัง
การตัดสางขยายระยะ
คือการตัดต้นไม้ที่ขึ้นอยู่หนาแน่นออกเพื่อช่วยให้ต้นไม้ที่เหลือมีโอกาสเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ วิธีการตัดสางขยายระยะมีหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ถ้าต้องการตัดสางเพื่อส่งเสริมการเติบโตของต้นไม้ที่เหลือเพียงอย่างเดียว ก็พิจารณาตัดต้นไม้ขนาดเล็ก แคระแกร็น คดงอ และเป็นโรคออก แต่ถ้าต้องการใช้ประโยชน์หรือนำไม้ที่ตัดออกมาจำหน่ายก็ควรใช้ตัดต้นเว้นต้น
กำหนดระยะเวลาในการตัดสางขยายระยะ ขึ้นอยุ่กับวัตถุประสงค์ระยะปลูก และอัตราการเจริญเติบโตของต้นไม้ ถ้าปลูกระยะถื่และต้นไม้โตเร็ว การตัดสางขยายระยะก็จะต้องทำเร็วกว่าปลูกระยะห่าง อย่างไรก็ตาม มีหลักในการสังเกตอย่างง่าย ๆ ในการตัดสางขยายระยะต้นไม้ ก็คือ ให้เริ่มทำการตัดสางขยายระยะต้นไม้ เมื่อเรือนยอดของต้นไม้เริ่มเบียดชิดกัน
การปลูกไม้สักทอง
ควรปลูกไม้สักทองในช่วงฤดูฝนจะให้ผลดีที่สุด ทั้งนี้เพราะต้นไม้จะมีโอกาสตั้นตัวเร็ว และมีช่วงเวลาที่จะรับน้ำฝนและเจริญเติบโตมากกว่าต้นไม้ที่ปลูกในตอนปลายฤดูฝน ควรรดน้ำช่วยเหลือในช่วงแรกที่ปลูกและเดือนละ 1 ครั้ง จะทำให้ต้นสักทองเจริญเติบโตเร็วมาก ไม่ควรรดน้ำต้นสักทองเกิน 2 ปี เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงเกินไป
เมื่อต้นสักทองตั้งตัวได้แล้ว ควรหยุดการรดน้ำช่วย เพียงแต่ดูแลรักษาตามปกติ เช่น การถางวัชพืช การใส่ปุ๋ย จะทำให้ต้นสักทองที่ปลูกมีลวดลายสวยงาม สิ่งที่ผู้ปลูกไม้สักทองควารคำนึงประการหนึ่ง ก็คือ การเร่งไม้สักทองให้โตเร็วมากเกินไป อาจจะทำให้ไม้สักทองมีลวดลายไม่สายงามเหมือนไม้สักทองที่เจริญเติบโตตามธรรมชาติ
วิธีการปลูก
ไม้สักทองปลูกไม้ 2 วิธีคือ
วิธีที่1 ปลูกด้วยเหง้า วิธีนี้ควรใช้สำหรับการปลูกไม้สักที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ จะช่วยให้การปฏิบัติงานรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย เหง้าสักขนาดที่เหมาะสมควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่คอรอกตั้งแต่ 1.2-2.0 เซนติเมตร ก่อนที่จะปลูก นำเหง้าสักที่จะใช้ปลูกแช่น้ำยาเร่งรากเบอร์ 3 ประมาณ 10 นาที ใช้ชะแลงปักดินห่างจากโคนหลักหมายปลูกประมาณ 15 เซนติเมตรในแนวตรง แล้วดึงด้านชะแลงเข้าหาตัว เอียงประมาณ 15 องศา ให้มีความลึกพอดีกับขนาดควาวยาวของรากเหง้าสัก (ประมาณ 15-20 เซนติเมตร) ดึงชะแลงออก แล้วใส่เหง้าสักลงไปในหลุมตรง ๆ ให้ปลายเหง้าสักเสมอกับระดับผิวดินหรือต่ำกว่าผิวดินเล็กน้อย ปักชะแลงลงในดินมาทางตัวผู้ปลุก เพื่ออัดดินชั้นบนในกระชับส่วนสักที่มีขนาดเท่ากันปลูกในบริเวณเดียวกัน โดยปลูกเหง้าสักที่มีขนาดใหญ่อยู่ตอนในของพื้นที่ และปลูกเหง้าสักที่มีขนาดเล็กบริเวณรอบนอกของพื้นที่ จะช่วยทำให้ต้นสักทองมีความเจริญเติบโตสม่ำเสมอกันทั้งแปลง
วิธีที่ 2 ปลูกด้วยการชำถุง ใช้สำหรับการปลูกสักพื้นที่ไม่มากนัก ถ้าเตรียมกล้าอย่างดีจะทำให้ต้นสักเจริญเติบโตรวดเร็วและสม่ำเสมอ กล้าสักชำถุงควรมีความสูงไม่ต่ำกว่า 30 เชนติเมตร ก่อนปลูกควรทำให้แกร่งไม่น้อยกว่า 15 วัน เวลาปลูกใช้จอบขุดหลุมปลูกขนาด 20x20x20 เซนติเมตร ห่างจากโคนหลักหมายปลูกประมาณ 15 เซนติเมตร ค่อย ๆ เอาถุงออกจากกล้าสักก่อนนำลงปลูกพยายามอย่าให้กล้าไม้กระทบกระเทือนมากเกินไป หรือ ให้ดินรอบโคนกล้าไม้แตกหลุดร่วงนำลงปลูก พยายามอย่าให้กล้าไม้กระทบกระเทือนมากเกินไป หรือให้ดินรอบโคนกล้าไม้แตกหลุดร่วงนำกล้าไม้ลงวางในหลุมปลุกในแนวตรง กลบดินรอบ ๆ โคนกล้าไม้ให้แน่น การปลูกไม้สักทองด้วยกล้าชำถุง ควรปลูกในช่วงเวลาที่มีฝนตกชุกหรือรดน้ำหลังปลูก จึงจะได้ผลดีและมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง
การคัดเลือกพื้นที่
ก่อนเริ่มทำการเพาะปลูกไม้สักทองจะต้องพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกไม้สักทองเสียก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งได้กล่าวถึงไว้บ้างแล้วในตอนต้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าไม้สักทองในธรรมชาติจะขึ้นอยู่เฉพาะทางภาคเหนือ แต่ไม่ได้หมายความว่าไม้สักจะขึ้นทางภาคอื่นไม่ได้
การเตรียมพื้นที่
ควรใช้เครื่องจักรกลโดยใช้รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบหรือล้อยางติดใบมีดหน้า ปรับพื้นที่ ล้มไม้ยืนต้นและกำจัดเศษไม้ปลายไม้ที่กีดขวางออกให้หมด แล้วใช้รถแทรกเตอร์ล้อยางเข้าไถบุกเบิก 1 ครั้งและพรวนสลับอีก 1 ครั้ง สวนสักขนาดใหญ่ควรใช้รถแทรคเตอร์ปรับทำทางตรวจการ กว้าง 6 เมตร แบ่งเป็นแปลงย่อยขนาด 10-50ไร่ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน และควรจัดเตรียมแหล่งน้ำไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นสักในหน้าแล้ว และช่วยในการดับไฟด้วย
การปักหลักหมายปลูก
การปักหลักหมายปลูก ดำเนินการหลังจากได้เตรียมพื้นที่เสร็จแล้ว ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับการปลุกไม้สักทอง ควรปลูกระยะ 3x3 เมตร (178 ต้นไร่) หรือ 2x4 เมตร (200 ต้น/ไร) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ปลูก การปลุกระยะ 2x4 เมตร ควรพิจารณาปลูกเมื่อแน่ใจว่ามีตลาดรับซื้อไม้สักทองขนาดเล็กที่ตัดสางออกเมื่อต้นสักอายุ 5 ปี ถ้าไม่แน่ใจว่ามีตลาดรับซื้อ ควรปลูกระยะ 3x3 เมตร
การคัดเลือกแม่ไม้สักทอง
ลักษณะในการพิจารณาคัดเลือกแม่ไม้สักทอง
การคัดเลือกแม่ไม้สักทองมีหลักในการพิจารณาอยู่หลายประการ ทั้งการพิจารณาจากลักษณะภายนอกและลักษณะภายใน ลักษณะภายนอกสามารถพิจารณาได้ทันที ตามหลักวิชาการใช้วิธีประเมินค่าลักษณะต่าง ๆ ของต้นไม้โดยการให้คะแนน ส่วนลักษณะภายในพิจารณาได้ยากเพราะจะต้องมีการโค่นต้นไม้หรือเลื่อยแปรรูปเสียก่อนจึงจะพิจารณาได้ ซึ่งหมายความว่าจะต้องเสียแม่ไม้ที่ให้เมล็ดไป แต่ถ้าเป็นการตัดกิ่งปักชำ หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เมื่อโค่นแม่ไม้แล้วสามารถใช่หน่อจากต้นตอได้ลักษณะในการพิจารณาคัดเลือกแม่ไม้สักทอง
การคัดเลือกแม่ไม้สักทองในประเทศไทย มีลักษณะในการพิจารณากว้าง ๆ ดังนี้
1.อายุของต้นไม้
ไม้สักทองที่สามารถนำมาทำเป็นแม่ไม้ได้นั้น ควรมีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี ทั้งนี้ เพระาไม้สักทองที่ปลูกจะนำไปใช้ประโยชน์เมื่อมีอายุ ประมาณ 15 ปี ไม่ควรเลือกไม้สักทองที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี เป็นแม่ไม้ถึงแม้ว่าจะมีขนาดโตตามที่กำหนดไว้ก็ตามเพราะกล้าไม้ที่ได้จากแม่ไม้ที่มีอายุน้อยจะไม่แข็งแรงเท่าที่ควร
2. ลักษณะของลำต้น
ลักษณะภายนอกที่สำคัญประการแรกในการคัดเลือกไม้สักทองเพื่อใช้ทำแม่ไม้ ควรคัดเลือกที่มีลักษณะของลำต้นเปล่าตรง ไม่บิด คดงอ และกิ่งก้านไม่มาก ทั้งนี้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการปลูกไม้สักทอง ก็เพื่อใช้ประโยชน์จากลำต้น ไม้สักทองที่มีลำต้นเปล่าตรงจะขายได้ราคาแพงกว่าไม้สักทองที่ลำต้นคดงอ
3.ขนาดของลำต้น
ลักษณะภายนอกที่ควรพิจารณาอันดับต่อไป ก็คือ ขนาดของลำต้น ควรคัดเลือกต้นที่มีขนาดใหญ่กว่าต้นอื่น ๆ ในชั้นอายุเดียวกัน ซึ่งควรมีความโตทางเส้นรอบวงเฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 7 เซนติเมตร การคัดเลือกแม่ไม้สักทองโดยพิจารณาความโตเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากต้นไม้ขนาดใหญ่ย่อมให้ปริมาตรเนื้อไม้ที่สูงกว่า และไม้สักทองที่มีการเจริญเติบโตดี จะสามารถถ่ายทอดลักษณะการเจริญเติบโตที่สูมบูรณ์แข็งแรงไปยังรุ่นต่อ ๆ ไปด้วย
4.เรือนยอด
รูปทรงเรือนยอดต้องเป็นพุ่ม ได้สัดส่วนกับความสูง รัศมีความกว้างของทรงพุ่มรอบเรือนยอดเท่ากัน น้ำหนักเรือนยอดไม่ถ่วงไปด้านใด้านหนึ่งมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ต้นไม้โค่นล้มได้ง่ายเมื่อเกิดลมพัดแรง
5.ลักษณะและคุณภาพของเนื้อไม้
วัตถุประสงค์ในการปลูกไม้สักทองนั้น นอกจากต้องการต้นไม้ที่รูปทรงดีและโตเร็วแล้วยังมีความต้องการเนื้อไม้สักทองที่มีลวดลายสวยงามด้วย ดังนั้น ต้นสักที่มีลวดลายสวยงามจึงเป็นที่ต้องการและควรคัดเลือกไว้เป็นแม่ไม้
6.ความต้านทานโรคและแมลง
ปัจจุบันสวนสักทองของทางราชการและเอกชนที่ปลูกไว้ มักจะประสบปัญหาเรื่องโรคและแมลงรบกวนเป็นจำนวนมาก จนเกิดความเสียหายบริเวณ ลำต้น ใบ กิ่งก้าน เปลือก หรือส่วนอื่น ๆ ดังนั้น การคัดเลือกแม่ไม้ไว้ทำพันธุ์ ต้องไม่ปรากฎว่ามีร่องรอยของโรคและแมลงรบกวนตามส่วนต่าง ๆ ของลำต้นดังกล่าวแล้ว
7.ความสามารถในการแตกหน่อ
ความสามารถในการแตกหน่อของไม้สักทอง จะทราบได้ก็ต่อเมื่อมีการโค่นต้นไม้เสียก่อน แต่ก็เป็นผลดีในการปรับปรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์โดยวิธีแตกหน่อ ในรุ่นต่อไปและการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แม่ไม้สักทองควรจะต้องมีการแตกหน่อที่ดีและให้หน่อที่สมบูรณ์ด้วย
8.ความสามารถในการแตกรากของกิ่งปักชำ
ลักษณะในข้อนี้ มีความจำเป็นสำหรับการเตรียมกล้าไม้สักทองแบบเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อ ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับการพัฒนาเพื่อการปลูกสร้างสวนสักทองที่มีประสิทธิภาพในอนาคตการทดสอบความสามารถของแม่ไม้ในข้อนี้จำเป็นต้องมีทดลองเก็บข้อมูลไว้สำหรับการปรับปรุงพันธุ์
9.ความสามารถในการถ่ายทอดและดำรงพันธุ์
แม่พันธุ์ที่ดีต้องให้ลูกไม้ที่มีลักษณะเด่นเหมือนแม่พันธุ์นั้น กล้าไม้รุ่นต่อ ๆ ไปต้องไม่กลายพันธุ์ง่าย สามารถถ่ายทอดลักษณะที่ดีได้ตลอดไป ลักษณะเช่นนี้จะทราบได้ต้องใช้เวลาในการศึกษาทดลองไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะตัดสินใจได้
วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
การเตรียมกล้าสักแบบเพาะเลื้ยงเนื้อเยื่อ
ปัจจุบันได้มีการผลิตกล้าไม้สักแบบเพาะเลี้ยงเนี้ยเยื่อ เพื่อการปลุกสร้างสวนป่าในเชิงธุรกิจ โดยหวังว่า ผลที่ได้จากการปลูกสร้างสวนป่าโดยวิธีนี้ จะได้ผลดีกว่าการปลูกโดยใช้กล้าสักจากเมล็ด คือ ต้นสักจะมีลักษณะดีเหมือนต้นแม่ทุกประการ เช่น เปลาตรง โตเร็ว การเจริญเติมโตสมำเสมอ และให้ผลผลิตของเนื้อไม้มากกว่า เป็นต้น
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้สัก เริ่มจากการนำเนื้อเยื่อจากตายอดมาเพาะเลี้ยงในอาหารสูตรการขยายปริมาณเนี้อเยื้อให้ได้ปริมาณมาก เลี้ยงเนื้อเยื่อให้เจริญจนมีใบ 2-3 คู่ ก็พร้อมที่จะนำออกมาเลี้ยงในเรือนเพาะชำ หรืออาจจะนำไปเลี้ยงในสูตรอาหารเร่งราก ก่อนนำออกปลูกได้ หลังจากนั้นก็ย้ายกล้าไม้ที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อลงถุงพลาสติกบรรจุดินผสมที่เตรียมไว้ในเรือนเพาะชำ รดน้ำ ดูแลรักษาเช่นเดียวกับการเตรียมกล้าไม้ทั่วไป เมื่อกล้าไม้สักโตได้ขนาดที่เหมาะสม ก็นำไปปลูกในพื้นที่สวนป่าต่อไป
การเตรียมกล้าสักจากเมล็ด
การเก็บเมล็ดไม้สัก
เมล็ดไม้สักจะนำมาเตรียมเพาะกล้าเพื่อปลูกสร้างสวนป่า ควรเลือกเก็บจากแหล่งไม้สักที่มีลักษณะดีในป่าธรรมธรรมชาติ หรือจากสวนผลิตเมล็ตพันธุ์ไม้สักที่จัดทำขึ้นเท่านั้น ไม้สักที่ควรเก็บเมล็ดมาใช้เพาะเพื่อเตรียมกล้าไม้ควรมีอายุตั้งแต่ 15 ปี และมีความโตทางเส้นรอบวงตั้งแต่ 100 เซนติเมตรขึ้นไป
การเก็บเมล็ดไม้สักจากต้นสักในป่าธรรมชาติทั่ว ๆไป โดยไม่มีการคิดเลือกอาจจะทำให้ได้พันธุ์ไม่ดีมาปลูก ทำให้การปลุกสร้างสวนป่าไม่ประสมผลสำเร็จเท่าที่ควร คือ ต้นไม้โตช้า รูปทรงไม่ดี แตกกิ่งก้านมาก เป็นต้น โดยทั่วไปผลไม้สักจะแก่ราวเดือนพฤษจิกายน-มกราคม และร่วงหล่นไปตลอดฤดูแล้ง ดังนี้ การเก็บเมล็ดสักจึงสามารถดำเนินการได้ในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเก็บตามโคนต้น หรือปีนขึ้นไปเก็บผลที่แก่แล้วบนต้น
การเพาะเมล็ดไม้สัก
การเพาะเมล็ดไม้สักจำนวนมาก ๆ ต้องทำแปลงเพาะขนาดมาตรฐาน ควรมีความกว้าง 1.10 เมตร ความยาวตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ แต่ถ้าเป็นการเพาะกล้าไม้จำนวนน้อยจะเพาะในกระบะก่อน แล้วจึงย้ายลงในแปลงเพาะในภายหลังก็ได้ ดินในแปลงเพาะควรเป็นดินร่วนปนทราย และเนื่องจากเมล็ดไม้สักอยู่ในผลที่มีเปลือกหนาและแข็งมาก ทำให้ใช้เวลาการงอกช้ามาก การนำเมล็ดแช่น้ำนาน 72 ชั่วโมงก่อนนำไปเพาะจะช่วยให้งอกเร็วขึ้น
ควรทำแนวลึกลงบนแปลงเพาะตามความยาวแปลงเพาะ แต่ละแนวห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วโรยเมล็ดสักลงตามแนว กลบเมล็ดด้วยดินร่วน ทรายหยาบ หรือ ทรายผสมขี้เลื่อยหนาไม่เกิน 2 เซนติเมตร รดน้ำทุกวันในช่วงที่ฝนไม่ตก หลังจากนำเมล็ดสักลงเพาะในแปลงเพาะประมาณ 10-15 วัน กล้าไม้ก็จะงอกงาม
ควรจะมีการป้องกันกำจัดไม่ให้วัชพืชขึ้นคลุม หรือแย่งอาหารในดินจากกล้าไม้สักที่กำลังงอก โดยปกติ จะทำหลังจากการรดน้ำกล้าไม้เสร็จใหม่ ๆ เพราะดินในแปลงเพาะยังอ่อนอยู่จะทำให้ถอนวัชพืชง่ายขึ้น หากพบว่ามีโรคและแมลงรบกวน โดยเฉพาะหนอนผีเสื้อกัดกินใบสัก และหนอนผีเสื้อกินผิวใบสัก ต้องรีบป้องกันและกำจัดโดยใช้ยาฆ่าแมลงพ่นทำลายเสีย และในระหว่างการเจริญเติบโต ถ้าสังเกตุเห็นว่ากล้าไม้สักโตไม่ได้ขนาดปลูก ก็ใช้ปุ๋ยช่วยเร่งทางใบและทางราก
การเตรียมเหง้าสัก
การเตรียมเหง้าสักจะขุดถอนกล้าสักจากแปลงเพาะ ในช่วงเวลาที่กล้าสักมีความงันหรือพักตัว สังเกตได้จากกล้าสักจะทิ้งใบจนหมด ดินแปลงเพาะจะแห้ง ให้นำมาทำการแต่งเหง้าโดยใช้มีดคมตัวส่วนของลำต้นให้เหลือตาเหนือคอรากไว้ 1-2 คู่ ส่วนรากแก้ว ดัดให้เหลือความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร และตัดรากฝอยออกให้หมด ขนาดของเหง้าสักที่ได้มาตรฐานที่จะนำไปปลูก คือ เส้นผ่าศูนย์กลางที่คอราก ระหว่าง 1.2-2 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตรนำไปเก็บไว้ในหลุมทราย โดยควบคุมอุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส การปลูกด้วยเหง้าสักที่เก็บไว้ในหลุมทรายช่วงที่เหง้าสักกำลังงัน จะมีการเจริญเติบโตดีกว่าเหง้าสักที่ไม่ได้เก็บ ทั้งนี้เนื่องจากอาหารทีถูกเก็บสะสมไว้ในเหง้าสักยังไม่ได้ถูกใช้ไปในการเจริญเติบโตของกล้าสักในแปลงเพาะจนกว่าจะถึงต้นฤดูฝนปีต่อมา
ประโยชน์ของไม้สักทอง
ไม้สักทองเป็นไม้โตเร็วปานกลางและเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีลักษณะพิเศษกว่าไม้ชนิดอื่นโดยเฉพาะเนื้อไม้ มอด ปลวก และแมลง ไม่ทำอันตราย เนี้อไม้มีสีเหลืองทอง ลวดลายสวยงาม เลื่อยไสกบตบแต่งง่าย จึงนิยมใช้ทำบ้านเรือนที่ต้องการสวยงาม ในสมัยโบราณไม้สักทองหาง่าย ราคาไม่แพง
การสร้างบ้านเรือนนิยมใช้ไม้สักทองทำเสาเรือน เพราะมีความทนทานสามารถอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน ๆ ปัจจุบันไม้สักทองหายากและมีราคาแพง จึงต้องใช้ไม้สักอย่างประหยัด และคุ้มค่า โดยนำไม้สักทองมาเข้าเครื่องฝานเป็นแผ่นบาง ๆ เพื่อทำเป็นไม้อัดแทนการใช้ไม้สักทั้งแผ่น นอกจากนี้ยังนำไม้ขนาดเล็ก เศษไม้ ปลายไม้ มาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ แกะสลัก ปาร์เก้ โมเสค วงกบ กรอบและบานประตูหน้าต่าง
อย่างไรก็ตามในขณะที่ไม้สักทองในป่าธรรมชาติกำลังจะหมดไป รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้เอกชนปลุกไม้สักทอง แม้ว่าไม้สักที่ปลูกจะมีลวดลายไม่สวยงามเหมือนไม้สักทองในป่าธรรมชาติ แต่ก็มีความทนทานเหมือนกัน
คุณสมบัติเด่นของไม้สัก
ไม้สักนิยมใช้ก่อสร้างอาคารบ้านเรือนมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะทนต่อปลวกและมอดได้ดี เนื่องจากเนื้อไม้สักมีสารเคมีชนิดพิเศษที่เรียกว่า O-cresyl methyl ether ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ของกรมป่าไม้ได้ศึกษาพบว่า หากนำสารชนิดดังกล่าวมาทาหรืออาบไม้ จะช่วยทำให้ไม้คงทนต่อ ปลวก แมลง เห็ดรา ได้อย่างดียิ่งขึ้น
กรมป่าไม้จัดกลุ่มไม้สักอยู่ในประเภทไม้เนื้อแข็ง เพราะไม้สักนั้นมีความแข็งแรงมากว่า 1,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร และมีความทนทานตามธรรมชาติ จากการทดลองนำส่วนที่เป็นแก่นของไม้สักไปทดลองปักดิน ปรากฏว่า มีความทนทานตามธรรมชาติเกินกว่า 10 ปี (ระหว่าง 11-18 ปี)
ประเภทของไม้สัก
ไม้สัก มี 5 ชนิด มีชื่อทางพฤกษศาสตร์เดียวกันว่า Tectona grandis Linn. f. แต่เรียกชื่อแตกต่างกันไปตามประเถทของเนื้อไม้
ศ.ดร.สะอาด บุญเกิด นักวิชากรด้านวนศาสตร์ได้เขียนบอกเล่าจากประสบการณ์ว่า ไม้สักทองจะเกิดขึ้นอยู่กับแหล่งพื้นที่ปลูก สถานที่ ดินฟ้าอากาศ และสายพันธุ์เป็นสำคัญ สำหรับการแบ่งประเภทของเนื้อไม้สัก โดยทั้วไปจะพิจารณาจากลักษณะของสีผิว การตกแต่ง ความแข็ง และความเหนียว เข้ามาประกอบ พวกลักลอบตัดโค่นไม้ มักจะเชี่ยวชาญในการแยกลักษณะของไม้สักเป็นพิเศษ โดยสังเกตจากต้น เรือนยอด สุขภาพของต้น และการแตกของเปลือก
สักทอง เนื้อไม้จะมีสีเหลืองทอง ส่วนใหญ่พบในป่าโปร่งชื้้น ดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ การแตกของเปลือกเช่นเดียวกับสักหยวก อยู่ในที่ที่แห้งชื้น เรือนยอดสมบูรณ์ ใบมีขนาดกลาง เนื้อไม้จะเป็นเส้นตรง ผ่าง่าย มีความแข็งแรกกว่าสักหยวก สีเข้ม เป็นสีน้ำตาลเหลือง หรือที่เรียกกันว่าสีทอง ในบรรดาไม้สักทั้ง 5 ชนิด ไม้สักทองได้รับฉายาว่าเป็น "ราชินีแห่งไม้" หรือ "Queen of Timbers" เป็นไม้ที่มีคุณภาพดีที่สุดของโลกที่ธรรมชาติมอบให้แก่คนไทยและประเทศไทย
สักหยวก เนื้อไม้จะมีสีขาว พบในป่าโปร่งชื้้น และริมห้วย ต้นตรง เปลือกแตกเป็นร่องตื้นแต่ยากตรง เรือนยอดสมบูรณ์ ใบมีขนาดกลาง เนื้อไม้หรือแก่น ถากหรือฟันได้ง่าย ไม้สักหยวก และไม้สักทองจะอยุ่ในทำเลที่คล้ายกัน และมีลักษณะภายนอกคล้ายกัน แต่ก็สามารถสังเกตได้อีกเล็กน้อยก็คือ ร่องของเปลีอกไม้สักหยวกจะกว้างกว่าไม้สักทอง แต่แตกเป็นร่องตรงเหมือน ๆ กัน
สักไข เนื้อไม้จะมีสีอ่อนและลักษณะเป็นมัน พบในป่าโปร่งแล้งเป็นส่วนมาก เจริญเติบโตช้า ร่องของเปลือกลึกและตัวเปลือกเป็นสันกว้างระหว่างร่อง ลำต้นตรงเปลา แต่มีลักษณะแกร็น ๆ พุ่มของเรือนยอดบอบบาง แต่ก็มีใบเต็ม จะทราบได้ว่าเป้นสักไขก็ต่อเมื่อถึงมือช่างไม้ เพราะเนื้อไม้จะมีไขปน ยากแก่การขัด และทาแล็กเกอร์ สีของไม้สักไขจะมีสีน้ำตาลเข้มปนเหลือง
สักหิน พบในป่าโปร่งแล้งในระดับสูง การแตกของเปลือกเป็นร่องลึกและเรือนยอดดูไม่ค่อยแข็งแรง ใบเล็กกว่าปกติ จพทราบได้แน่นอนเมื่อมีการโค่นล้ม หรือตบแต่งโดยพวกโค่นล้มเลื่อย และช่างไม้ เพราะเนื้อไม้จะแข็งกว่าไม้สักทั่วไปและเปราะ สีของเนื้อไม้จะมีสีน้ำตาลเข้ม
สักขี้ควาย เนื้อไม้จะออกสีคล้ำ ไม้สักพวกนี้จะเกิดอยู่ในที่ค่อนข้างแล้งในป่าผสมผลัดใบต่าง ๆ และมักจะพบอยู่ในบริเวณรอยต่อ (Transition zone) ของป่าโปร่งผลัดใบต่าง ๆ และป่าแพะลักษณะของเรือนยอดมักจะไม่สมบูรณ์ ลำต้นจะตายบ้าง กิ่งหรือเรือนยอดแห้งตายไปบ้างกิ่งสองกิ่งลักษณะของเปลือกแตกเป็นร่องไม่สม่ำเสมอ ขาดเป็นตอน ๆ และมีร่องลึก ลักษณะไม่สมบูรณ์ จะทราบแน่ว่าเป็นสักขี้ควายก็ต่อเมื่อโค่นลงมาเลื่อยดู ก็จะเห็นได้ชัดว่า เนื้อไม้จะมีสีเขียวปนน้ำตาลแก่ หรือ น้ำตาลอ่อน
ลักษณะทั่วไปของไม้สัก
ลำต้น
ไม้สักเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 50 เมตร โตเร็ว ผลัดใบในฤดูร้อน ส่วนที่ยังอ่อนมีขน เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา
เปลือก
เปลือกหนา 0.30-1.70 เซนติเมตร สีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อนแกมเทา แตกเป็นร่องตื้น ๆ ไปตามทางยาวและหลุดออกเป็นแผ่นบาง ๆ เล็ก ๆ
ลักษณะเนื้อไม้
มีสีเหลืองทองถึงสีน้ำตาลแก่ มีลายเป็นเส้นสีน้ำตาลแก่แทรก เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แข็งปานกลาง เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย
ใบ
ใบเป็นใบเดี่ยวมีขนาดใหญ่มาก เรียงตรงข้ามรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน เนื้อใบสากคาย สีเขียวเข้ม ท้องใบสี่อ่อนกว่า มีต่อมเล็ก ๆ สีแดง
ดอก
ดอกเป็นช่อใหญ่ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบปริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีขาวเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ออกดอกเดือนมิถุนายน-ตุลาคม
ผล
ผลสดค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร เปลือกแข็งมีขนสั้น ๆ นุ่ม ๆ สีน้ำตาลหุ้มอยู่ ผลหนึ่ง ๆ มีเมล็ตประมาณ 1-4 เมล็ด มีขนละเอียดหนาแน่น ผลจะแก่ในรายเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับไม้สัก
ไม้สักมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Teak และชื่่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tectona grandis อยู่ในวงศ์ Verbenaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ไทย อินโดนีเซีย และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ต้นสักมีชื่อตามท้องถิ่น คือ
เคาะเยียโอ-ละว้า,เชียงใหม่
ปายี้-กะเหรี่ยง,กาญจนบุรี
บีอี ปีฮีอ เป้อยี-กะเหรียง,แม่ฮ่องสอน
สัก-ทั่วไป
เส่บายี้-กะเหรียง,กำแพงเพชร
ไม้สักทอง ได้ถูกยกย่องว่าเป็นไม้มงคล เพราะคำว่า "สัก"หรือ "สักกะ" หมายถึง พระอินทร์ผู้มีอำนาจยิ่งใหญ่ที่สุดในสรวงสวรรค์ ขณะเดียวกันคำว่า "สัก" พ้องเสียงกับคำว่า "ศักดิ์" หมายถึง ยศถาบรรดาศักดิ์หรือศักดิ์ศรี ในทางศาสนาพราหมณ์เชื่อว่า ไม้สักทอง หมายถึง การมีสิ่งศักดิ์สิทธ์คุ้มครองให้มั่นคงตลอดไป ดังนั้นจึงนิยมนำไม้สักทองปักก้นหลุมเสาเอก ในพิธีวางศิลาฤกษ์ โบสถ์วิหาร สถานที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งบ้านที่พักอาศัย เพราะมีความเชื่อว่า ถ้ามีไม้สักหรือตันสักในบ้านจะช่วยเพิ่มสง่าราศี และส่งผลให้ได้เลื่อนตำแหน่ง เป็นที่เคารพยกย่องของบุคคลอื่น
ต้นสัก ถือเป็นพันธุ์ไม้สัญลักษณะประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เนื่่องจากได้คนพบต้นสักใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อปี พ.ศ.2470 ที่วนอุทยานตันสักใหญ่ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ต้นสักดังกล่าวมีความสูงประมาณ 47 เมตร แต่ปัจจุบัจเหลือประมาณ 37 เมตร เนื่องจากเรื่อนยอดถูกลมพัดหักเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2520 วัดขนาดความโตโดยรอบต้นที่ระดับสูง 130 เซนติเมตร จากพื้นดิน 1,003 เซนติเมตร อายุประมาณ 1,500 ปี
ไม้สัก เป็นตันไม้ขนาดใหญ่ มักขึ้นเป็นหมู่ไม้สักล้วน ๆ พบเห็นได้ตามป่าเบญจพรรณ หรือป่าผสมผลัดใบ (Mixed deciduous forest) ซึ่งมีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ประกอบด้วยตั้นไม่ขนาดใหญ่ ปละขนาดกลางหลายชนิด พื้นดินมักเป็นดินร่วนปนทราย ในฤดูแล้งต้นไม้ส่วนมากจะผลัดใบ และมักจะเกิดไฟป่าไหม่ลุกลามแทบทุกปี เมื่อเข้าฤดูฝนต้นไม้จึงผลิใบและกลับเขียวชอุ่มเหมือนเดิม ป่าเบญจพรรณนี้จะมีครอบคลุมอาณาเขต ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตก เช่น แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และพิจิตร และพบบ้างเล็กน้อยในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี
ป่าแม่ยมเป็นป่าเบญจพรรณที่มีชื่อเสียงและมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด ไม้เด่นที่เป็นสัญลักษณ์ของป่าแห่งนี้คือ ไม้สักทอง ความสวยงามของไม้สักทองอยู่ที่มีวงปีที่ชัด สีไม้จะออกสีเหลือง ซึ่งพบว่าเนื้อไม้สักทองมีทองคำบริสุทธ์ปะปนอยุ่ถึง 0.5 ppm คิดคร่าว ๆ ก็คือ หากนำไม้สักทอง 26 ต้น มาสกัดเนื้อทองจะได้ทองคำหนัก 1 บาทที่เดียว ดังนั้นไม้สักทองจึงเป็นที่หมายปองของหลาย ๆ คน ปัจจุบันพบว่าไม้สักทองที่มีอยู่ในโลกมีอยู่ 3 ประเทศเท่านั้น ได้แก่ พม่า อินเดีย และประเทศไทย อนาคตของไม้สักทองในป่าแม่ยมดูจะไม่มั่นคงนัก เพราะไม่รุ้ว่ารัฐบาลจะตัดสินใจให้มีการตัดป่าเพื่อก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นเมื่อใด
อัตราการเจริญเติมโตของไม้สัก ขึ้นอยู่กับความลึก การระบายน้ำ ความชื้้้น และความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลัก สภาพที่เหมาะสำหรับปลูกไม้สัก คือดินแบบตะกอนทับถมที่มีผิวหน้าดินลึกและระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกลางและด่างเล็กน้อย ค่าpH ระหว่าง 6.5-7.5 ปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,200-2,000 มม./ปี ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 700 เมตร และหากปลูกในพื้นที่ที่มีฤดูแล้วแยกจากฤดูฝนอย่างชัดเจนจะทำให้เนื้อไม้สักมีลวดลายสวยงาม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ที่มาของข้อมูล
หนังสือคู่มือการเกษตร
การปลูกและดูแลรักษาสวนป่า ไม้สักทอง ไม้เศรษฐกิจของชาติ
เรียบเรียงโดย ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์