ไม้สักทองเป็นไม้ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก อันเนื่องมาจากเนี้อไม้มีคุณภาพสูง เป็นไม้ที่มีสีสันและลวดลายธรรมชาติที่งดงาม ไม้สักชนิดหนึ่งสี่ของเนี้อไม้จะเป็นสีน้ำตาลทอง และมีลวดลายสีดำ เนื้อไม้ของไม้สักค่อนข้างที่จะละเอียด มีเสี้ยนตรง น้ำหนักเบา ทำให้ง่ายต่อการเลื่อย ไส และตบแต่ง แต่ก็มีความแข็งแรงพอสมควร

ไม้สักสามารถที่จะนำมาใช้งานได้แทบทุกอย่างเท่าที่ไม้เนื้อแข็งชนิดอื่น ๆ จะทำได้ เช่น นำมาใช้ในงานก่อสร้าง และโครงสร้างของที่อยุ่อาศัย ใช้ทำดาดฟ้าเรือ ใช้ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ และใช้ในการแกะสลักได้อย่างยอดเยี่อม ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ไม้สักยังมีความต้านต่อปลวก เชื้อรา เห็ดต่าง ๆ ทนต่อกรด ไม่ทำให้เหล็กเป็ฯสนิม ตลอดทั้งทนทานต่อลมฟ้าอากาศที่จะทำลายเนื้อไม้ ดังจะเห็นได้จากสภาพของโบสถ์ วิหารที่มีอายุหลายร้อยปีที่สร้างขึ้นด้วยไม้สักในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือของไทย

ไม้สักในประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดในโลกและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างมาก ในสมัยก่อนไม้สักค่อนข้างจะหาง่ายและราคาไม่แพง ประชาชนสามารถสร้างบ้านทั้งหลังโดยใช้ไม้สักล้วน ๆ ได้ แต่ในปัจจุบันไม้สักในป่าธรรมชาติกำลังจะหมดไป เพราะความต้องการใช้สูง รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลุกไม้สักเพื่อใช้เองหรือเพื่อการค้าได้ และเนื่องจากความต้องการใช้ไม้มีมาก และนับวันจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงไม่ต้องห่วงเรื่องราคาและการตลาดสำหรับไม้ชนิดนี้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นไม้ขนาดเล็กที่ได้จากการตัดสางขยายระยะ หรือไม้ซุง เมื่อมีการตัดมาใช้ประโยชน์ครั้งสุดท้ายก็ตาม

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

งานวิจัย:ความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตของช่อดอกสักกับชนิดของแมลงบนช่อดอก

โดย สรุชัย ชลดำรงค์กุล และฉลีวรรณ หุตุเจริญ เผยแพร่ วารสารสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 18(2):45-52;2529

การศึกษาความสัมพันธุ์ระหว่างการเจริญเติบโตช่อดอกสักและชนิดของแมลงบนช่อดอก ณ ศูนย์ปรับปรุงพันธุ์ไม้สัก อำเภองาว จังหวัดลำปาง เพื่อหาแมลงศัตรูที่แท้จริงของช่อดอกในระยะต่าง ๆ ได้ดำเนินตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายน 2528 พบว่า ดอกสักเริ่มแทงช่อตั้งแต่ต้นเดือนกรกฏาคมและจะเริ่มผลตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป แมลงที่พบบนช่อดอกสักตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม มี 14 ชนิด เป็นแมลงศัตรูดอกสัก 11 ชนิด และแมลงชนิดอื่นที่ไม่เป็นศัตรูต่อดอกสักอีก 3 ชนิด คือ มดดำ เหลือบ และผึ้งโพรง

สำหรับแมลงศัตรูดอกสักที่พบตลอดระยะการเติบโตของช่อดอกสัก คือ เพลี้ยกระโดดชนิด Macharota elegans Maa ซึ่งจะดูดน้ำเลื้ยงของช่อดอกสัก ตั้งแต่ยอดสักยังไม่แทงช่อดอกจนกระทั่งติดผล หลังจากดอกสักแทงช่อแล้ว ตั๊กแตนหนวดยาว Euconocephalus sp. จะกัดกินดอกตูมมากในเดือนกรกฏาคม แมลงที่พบในช่วงระหว่างดอกตูมและดอกบาน คือ หน่อนผีเสื้อกินดอกสักชนิด Pagida salvaris Walker หนอนปลอก หนอนบุ้งในวงศ์ Lymantriidae หนอนผีเสื้อกินใบสักชนิด Hyblaea puera (cramer) เพลี้ยกระโดด ptyelus sp. และ Leptocentrus sp. สำหรับในช่วงดอกสักเริ่มติดผลแล้ว E.machaeralis Walker และหนอนผีเสี้อลายจุดชนิด Dicho-crosis punctiferails Guenee จะร่วมกันทำลายผลอ่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ที่มาของข้อมูล

หนังสือคู่มือการเกษตร
การปลูกและดูแลรักษาสวนป่า ไม้สักทอง ไม้เศรษฐกิจของชาติ
เรียบเรียงโดย ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์

บริการถ่ายภาพด้วยมืออาชีพ

...คลิกที่รูป....บริการถ่่ายภาพสุดประทับใจ¨ prewedding รับประริญญา พิธีการต่่าง ๆ แฟชั่นอีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com