ไม้สักทองเป็นไม้ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก อันเนื่องมาจากเนี้อไม้มีคุณภาพสูง เป็นไม้ที่มีสีสันและลวดลายธรรมชาติที่งดงาม ไม้สักชนิดหนึ่งสี่ของเนี้อไม้จะเป็นสีน้ำตาลทอง และมีลวดลายสีดำ เนื้อไม้ของไม้สักค่อนข้างที่จะละเอียด มีเสี้ยนตรง น้ำหนักเบา ทำให้ง่ายต่อการเลื่อย ไส และตบแต่ง แต่ก็มีความแข็งแรงพอสมควร

ไม้สักสามารถที่จะนำมาใช้งานได้แทบทุกอย่างเท่าที่ไม้เนื้อแข็งชนิดอื่น ๆ จะทำได้ เช่น นำมาใช้ในงานก่อสร้าง และโครงสร้างของที่อยุ่อาศัย ใช้ทำดาดฟ้าเรือ ใช้ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ และใช้ในการแกะสลักได้อย่างยอดเยี่อม ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ไม้สักยังมีความต้านต่อปลวก เชื้อรา เห็ดต่าง ๆ ทนต่อกรด ไม่ทำให้เหล็กเป็ฯสนิม ตลอดทั้งทนทานต่อลมฟ้าอากาศที่จะทำลายเนื้อไม้ ดังจะเห็นได้จากสภาพของโบสถ์ วิหารที่มีอายุหลายร้อยปีที่สร้างขึ้นด้วยไม้สักในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือของไทย

ไม้สักในประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดในโลกและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างมาก ในสมัยก่อนไม้สักค่อนข้างจะหาง่ายและราคาไม่แพง ประชาชนสามารถสร้างบ้านทั้งหลังโดยใช้ไม้สักล้วน ๆ ได้ แต่ในปัจจุบันไม้สักในป่าธรรมชาติกำลังจะหมดไป เพราะความต้องการใช้สูง รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลุกไม้สักเพื่อใช้เองหรือเพื่อการค้าได้ และเนื่องจากความต้องการใช้ไม้มีมาก และนับวันจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงไม่ต้องห่วงเรื่องราคาและการตลาดสำหรับไม้ชนิดนี้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นไม้ขนาดเล็กที่ได้จากการตัดสางขยายระยะ หรือไม้ซุง เมื่อมีการตัดมาใช้ประโยชน์ครั้งสุดท้ายก็ตาม

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

งานวิจัย:ชีวประวัติและการทำลายของหนอนสร้างปมในลำต้นสัก

โดย คุณสังวล รัตนจันทร์ เผยแพร่ การประชุมวิชาการป่าไม้ ประจำปี 2537 ,21-25 พฤษจิกายน 2537 โรงแรมวังใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎานี

ตัวหนอนของด้วงหนวดยาว ชนิด Acalolepta cervinus (Hope) ได้สร้างปัญหาโดยสร้างปมที่ลำต้นและมีผลทำให้ตันสักหักโค่น จึงได้มีการศึกษาชีวประวัติ ความเสียหาย และลักษณะของปมที่เกิดในต้นสัก ที่ศูนย์วิจัยและควบคุมศัตรูพืช ป่าไม้ที่ 3 อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี พบว่า ตัวเต็มวัยออกจากดักแด้ในต้นสักในระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม ผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลาต่อมา ระยะไข่ไช้เวลา 10-14 วัน ตัวอ่อนอาศัยกินเนื้อเยื่อที่มีชีวิตในต้นสักและกระตุ้นให้ต้นสักสร้างปมโตขึ้นและชอนไชกินอยู่ใต้เปลีอกรอบปมนี้ การทำลายของตัวหนอนไม่ทำให้สักตาย แต่การกัดกินของตัวหนอนที่รุนแรงทำให้ต้นสักหักโค่น ณ จุดที่เป็นปมนั้น

การหักโค่นไนพื้นที่พบสูงถึง 50% การหักโค่นทำให้เกิดการแตกยอดด้านข้าง ปมเก่ามักจะถูกปลวกกันกินจนพรุนและเป็นแหล่งอาศัยของมด การเกิดปมในสักอายุ 1-2 ปี มีผลทำให้การเจริญเติบโตลดลง แต่ไม่มีผลในสักที่มีอายุมากขึ้น และสักอายุเกินกว่า 4 ปี มีเปลือกแข็งจะพบการทำลายน้อยลง ต้นสักหนื่ง ๆ มักจะพบ 1-2 ปมโดยเฉลี่ย และความสูงของปมที่พบมักอยู่ช่วงระดับผิวดิน ถึง 90 เซนติเมตร โดยทั่วไปจะไม่พบเกินกว่าระดับ 2.5 เมตร

ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ด้วงมาวางไข่โดยการพ่นสารกำจัดแมลง จึงแนะนำพ่นสารกำจัดแมลงที่ลำต้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 1.5 เมตร ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม การพ่นสารที่ลำต้นไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษ การป้องกันมิให้ปลวกเข้าทำลายในปมเก่าจะสามารถรักษาเนี้อไม้ไว้ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ที่มาของข้อมูล

หนังสือคู่มือการเกษตร
การปลูกและดูแลรักษาสวนป่า ไม้สักทอง ไม้เศรษฐกิจของชาติ
เรียบเรียงโดย ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์

บริการถ่ายภาพด้วยมืออาชีพ

...คลิกที่รูป....บริการถ่่ายภาพสุดประทับใจ¨ prewedding รับประริญญา พิธีการต่่าง ๆ แฟชั่นอีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com