ไม้สักทองเป็นไม้ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก อันเนื่องมาจากเนี้อไม้มีคุณภาพสูง เป็นไม้ที่มีสีสันและลวดลายธรรมชาติที่งดงาม ไม้สักชนิดหนึ่งสี่ของเนี้อไม้จะเป็นสีน้ำตาลทอง และมีลวดลายสีดำ เนื้อไม้ของไม้สักค่อนข้างที่จะละเอียด มีเสี้ยนตรง น้ำหนักเบา ทำให้ง่ายต่อการเลื่อย ไส และตบแต่ง แต่ก็มีความแข็งแรงพอสมควร

ไม้สักสามารถที่จะนำมาใช้งานได้แทบทุกอย่างเท่าที่ไม้เนื้อแข็งชนิดอื่น ๆ จะทำได้ เช่น นำมาใช้ในงานก่อสร้าง และโครงสร้างของที่อยุ่อาศัย ใช้ทำดาดฟ้าเรือ ใช้ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ และใช้ในการแกะสลักได้อย่างยอดเยี่อม ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ไม้สักยังมีความต้านต่อปลวก เชื้อรา เห็ดต่าง ๆ ทนต่อกรด ไม่ทำให้เหล็กเป็ฯสนิม ตลอดทั้งทนทานต่อลมฟ้าอากาศที่จะทำลายเนื้อไม้ ดังจะเห็นได้จากสภาพของโบสถ์ วิหารที่มีอายุหลายร้อยปีที่สร้างขึ้นด้วยไม้สักในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือของไทย

ไม้สักในประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดในโลกและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างมาก ในสมัยก่อนไม้สักค่อนข้างจะหาง่ายและราคาไม่แพง ประชาชนสามารถสร้างบ้านทั้งหลังโดยใช้ไม้สักล้วน ๆ ได้ แต่ในปัจจุบันไม้สักในป่าธรรมชาติกำลังจะหมดไป เพราะความต้องการใช้สูง รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลุกไม้สักเพื่อใช้เองหรือเพื่อการค้าได้ และเนื่องจากความต้องการใช้ไม้มีมาก และนับวันจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงไม่ต้องห่วงเรื่องราคาและการตลาดสำหรับไม้ชนิดนี้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นไม้ขนาดเล็กที่ได้จากการตัดสางขยายระยะ หรือไม้ซุง เมื่อมีการตัดมาใช้ประโยชน์ครั้งสุดท้ายก็ตาม

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

งานวิจัย:การผลิตเหง้าจากกิ่งตัดชำของกล้าไม้สัก

โดย นางสาวสุนันทา วิสิทธิพานิช นายไพรัช ปิยะพันธุ์ และนายวิเชียร สุมันตกุล ลงพิมพ์เผยแพร่ในรายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 37 สาขาการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หน้า 316-325

การศึกษาถึงความเป็นไปได้ของการผลิตเหง้าไม้สักจากกิ่งตัดชำ ที่สถานีบำรุงพันธุ์ไม้สัก อำเภองาว จังหวัดลำปาง โดยแบ่งงานทดลองออกเป็น 2 ขั้นตอน ใหญ่ ๆ คือ การทดลองหาเทคนิคการย้ายชำ และเพาะชำกิ่งลงแปลงเพาะเพื่อผลิตเหง้า และการทดลองชำเหง้าที่ได้จากกิ่งตัดชำเปรียบเทียบกับเหง้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด

ผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า
เทคนิคการย้ายชำกิ่งตัดชำลงแปลงเพาะที่ดีที่สุด คือ ทำการตัดชำลงบนแปลงเพาะโดยตรง ซึ่่่งจะดีกว่าการชำให้แตกรากก่อนแล้วย้ายลงแปลงภายหลัง โดยมีการเติบโตของกล้าไม้ตัดชำดีที่สุด มีเปอร์เซนต์การรอดตายและจำนวนรากหลัก (main root or tap root like root) ที่ได้ไม่ต่างจากการย้ายชำกิ่งตัดชำที่งอกรากแล้วชำลงแปลง เหง้าที่ได้จะมีจำนวนรากหลักระหว่าง 1-5 ราก เป็นเหง้าที่มีรากเดียว 22.41 % และเป็นเหง้าที่มีรากหลัก 2 ราก 43.42 %

การทดลองปักชำให้เกิดรากก่อน แล้วจึงย้ายชำลงแปลงเพาะนั้น พบว่า การเด็ดรากให้เหลือเพียง 1 ราก ก่อนการย้ายลงแปลงเพาะ ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้ และจำนวนรากหลักที่ได้

การทดลองชำเหง้าที่ได้จากกิ่งตัดชำ พบว่า กล้าจากเหง้าของกิ่งตัดชำจะมีการเติบโตและเปอร์เซนต์การรอดตายสูงกว่าเหง้าจากเมล็ดที่ได้จากต้นกล้าที่มีอายุเท่ากัน

การทดลองแบ่งเหง้าที่ได้จากกิ่งตัดชำ ซึ่งปกติจะมีรากหลักมากกว่า 1 ราก ให้เป็น 2 ส่วน(เหง้า) จะทำให้เปอร์เซนต์การรอดตายของกล้าไม้ลดลงจาก 94.45% เป็น 83.33% รวมทั้งจะทำให้การเติบโตของกล้าไม้ลดลงด้วย

การทดลองชำรากของกิ่งตัดชำ (รากที่แตกจากรากหลักหรือส่วนของรากแขนของกิ่งชำ) พบว่า รากที่แตกจากรากหลัก ไม่สามารถที่จะนำไปขยายพันธุ์ได้และ ขนาดของเหง้าที่ได้จากกิ่งตัดชำ จะไม่มีผลต่อเปอร์เซนต์การรอดตายของกล้าไม้จากเหง้าแต่จะมีผลต่อการเติบโตของกล้าไม้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ที่มาของข้อมูล

หนังสือคู่มือการเกษตร
การปลูกและดูแลรักษาสวนป่า ไม้สักทอง ไม้เศรษฐกิจของชาติ
เรียบเรียงโดย ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์

บริการถ่ายภาพด้วยมืออาชีพ

...คลิกที่รูป....บริการถ่่ายภาพสุดประทับใจ¨ prewedding รับประริญญา พิธีการต่่าง ๆ แฟชั่นอีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com